ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มีนาคม 29, 2024, 11:49:43 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ  โพสหัวข้อเดียวซ้ำๆ กัน รับสิทธิ์ โดนลบกระทู้ และโชคดีได้รับสิทธิ์แบนฟรี 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: “Neo Lanna Lllusion” นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ ปี 2559 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: “Neo Lanna Lllusion” นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ ปี 2559  (อ่าน 1539 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:07:53 AM »


ช่วงนี้ฝนหล่นมาเกือบกันทุกวัน ทำให้มนุษย์อย่างผมที่โหยหาแสงแดด มากกว่าสายฝน พาลหงุดหงิดใจ เพราะจะทำอะไรกลางแจ้งก็ไม่ถนัด เรียกได้ว่าเอาแต่หมกตัวแคะสะดือเล่นกันอยู่ที่บ้าน

พอรู้แล้วว่า ถูกจำกัดกรอบไว้แค่ในร่ม ก็ต้องหาที่ไป ที่ที่มันไม่เบื่อ ซึ่งแน่นอนก็ไม่พ้นพวกหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ รวมทั้งงานอีเว้นต์ ที่น่าสนใจ

สัปดาห์ล่าสุดที่ผ่านมานั้น แวะเวียนไปแถวหอศิลป์ มช . มา ไอ้ตอนไปก็ต้องผ่าฝนไปกับมอเตอร์ไซค์คู่ใจนี่แหละ โดยมีเสื้อกันฝนพกไว้ใต้เบาะ เพราะไม่อย่างงั้นแล้ว คงไปไหนไม่ได้แน่ ถ้าไม่มีเสื้อกันฝน

เอาจริงๆ แล้วเสื้อกันฝนถือว่าสำคัญมากสำหรับคนที่ชอบไปไหนมาไหนข้างนอกแบบผมกับมอเตอร์ไซค์ คือมีไว้มันอุ่นใจในระดับนึงว่า เออ ตูไม่เปียกแน่ ต่อให้ต้องขับรถ แต่ถ้ามันตกหนักจนเกินจะรับไว้ ก็หาที่หลบกันไปตามข้างทาง

กลับมาที่นิทรรศการที่จัดแสดงกันในหอศิลป์ มช. คราวนี้เป็นคิวของงานที่มีชื่อว่า “ Neo Lanna Lllusion” นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ ประจำปี 2559 มีภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดงาน ซึ่งมีพิธีเปิดไป เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2559

ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นั้น ประกอบด้วย 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์, สาขาวิชาจิตรกรรม, สาขาวิชาประติมากรรม, สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ และสาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งนอกจากการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติแล้วทางภาควิชาฯ แล้ว ยังประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการ ที่มีการส่งเสริมให้นักศึกษาและคณาจารย์ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมตามแนวถนัดของตนเองและนำออกเผยแพร่ ทั้งในส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน อันเป็นนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทั้งนี้ การจัดนิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2559 หัวข้อ “ Neo Lanna Lllusion ” เป็นการสนับสนุนให้คณาจารย์ได้มีโอกาสพัฒนาผลงานทางวิชาการงาน สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และเป็นการเผยแพร่ผลงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรุ้วิชาการด้านศิลปะแก่นักศึกษาและผู้สนใจ ทั้งนี้ได้เชิญคณาจารย์ของภาควิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ คณาจารย์อาวุโส อาจารย์ชาวต่างประเทศ และอาจารย์พิเศษ เข้าร่วมแสดงผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปะ

อนึ่ง การจัดกิจกรรมดังกล่าว ถือเป็นการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของคณะวิจิตรศิลป์ ในด้านพัฒนางานสร้างสรรค์ และงานวิจัยในสาขาศิลปะ การออกแบบ และวัฒนธรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของท้องถิ่นประเทศ และนำเสนอผลงานสู่ระดับสากล ตลอดจนเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนในการเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์แก่นักศึกษาและผู้สนใจเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านวิชาการศิลปะแก่นักศึกษาและผู้สนใจต่อไป


* DSCF9114.JPG (273.1 KB, 800x533 - ดู 229 ครั้ง.)

* DSCF9125.JPG (285.56 KB, 800x533 - ดู 248 ครั้ง.)

* DSCF9116.JPG (231.14 KB, 800x533 - ดู 270 ครั้ง.)

* DSCF9111.JPG (212.94 KB, 800x533 - ดู 181 ครั้ง.)

* DSCF9117.JPG (300.13 KB, 800x533 - ดู 162 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:09:54 AM »


จากที่ไปที่มาของนิทรรศการ มาถึงคราวของการตระเวนดูผลงานกันบ้าง นิทรรศการ “ Neo Lanna Lllusion ” จะมีการจัดแสดงสองส่วนด้วยกัน คือด้านหน้าของชั้นแรก และส่วนของด้านหลัง โดยผลงานที่จัดแสงดนั้นจะมีเป็นจุดๆ ไป ไม่ได้มีหมดทุกส่วนของพื้นที่ ตอนดูๆ ก็เลยเหมือนกับอารมณ์มันขาดแหว่งไปนิด

ผลงานชิ้นแรกที่นำเสนอ (เรียงลำดับตามภาพ) เป็นภาพถ่ายวิถีชีวิตของชาวปะกากะญอ เรื่องของ เตาไฟ ที่ในภาษาปะกากะญอเรียกว่า “ผักขวาทิ” เป็นเตาไฟที่ไม่สามารถเดินหาซื้อได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า แต่ทว่าเป็นเตาไฟที่ของชาวปะกากะญอ ที่เปรียบเสมือนดังศูนย์รวมจิตวิญญาณตามความเชื่อของบรรพบุรุษที่หล่อเลี้ยงมา เรียกได้ว่าให้ทั้งความสว่าง และเป็นสิ่งที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของชนเผ่า

นอกจากเรื่องของเตาไฟแล้ว ผลงานชิ้นนี้ยังสอดแทรกเรื่องของปะกากะญอ กับผืนป่า ที่หลังๆ มักโดนสังคมประณามว่าเป็นคนทำลายป่า กรณีไฟป่า ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ปะกากะญอ คือผู้ที่ดูแลผืนป่ายิ่งกว่าชีวิต และรักษาให้คงอยู่ตลอด โดยมีคำพูดอ้างอิงอันนึงที่ผมได้ดูจากรายการท่องเที่ยว We Roam Around เป็นภาษิตของปะกากะญอที่บอกว่า “กินน้ำ ต้องดูแลน้ำ อยู่กับป่าต้องรักษาป่า” อันเป็นสิ่งที่ปลูกฝังอยู่ในสายเลือดพวกเขา ใครอยากดูกดเข้าไปชมกันได้ฮะ https://www.youtube.com/watch?v=BOcsovZDNK8

ส่วนอีกฟากฝั่งของห้องจัดส่วนแรกนั้น เป็นงานจิตรกรรมภาพสีอะคริลิค หลายผลงานด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นงานในแบบนามธรรม แต่ติดใจอยู่อย่างเดียว คือชื่อผลงานของผู้สร้างสรรค์ ดันไม่แปะควบคู่กับชิ้นงาน ทั้งๆ ที่มีพื้นที่ตั้งเยอะแยะ

จากนั้นสับตีนเข้ามาด้านในที่เป็นส่วนด้านหลังของห้องจัดแสดง ผลงานชิ้นแรกก็กระแทกและทิ่มเบ้าตาทันที เพราะเป็น “ศิวลึงค์”

อันนี้อยากให้มองในแง่อื่นที่ไม่ใช่ในทางลามกจกเปรตนะ

เพราะ ศิวลึงค์ นั้น เป็นสัญลักษณะของพระศิวะเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ใช้ในการบูชาสักการะในโบสถ์วิหารฮินดู ทั้งนี้ ในศาสนาฮินดูยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าศิวลึงค์เป็นตัวแทนทางกายภาพของเทพเจ้าหรือเป็นเครื่องหมายทางจิตวิญญาณ

ศิวลึงค์ ถูกแปลความว่าเป็นเครื่องหมายแห่งพลังสร้างสรรค์ในบุรุษเพศที่มาจากองคชาต แม้ว่าในปัจจุบันชาวฮินดูส่วนใหญ่จะมองศิวลึงค์เป็นเครื่องหมายแห่งพลังศักดิ์สิทธิ์มากกว่าเครื่องหมายทางเพศ ศิวลึงค์มักปรากฏอยู่พร้อมกับโยนีสัญลักษ์ของพระแม่ปารวตีอันบ่งบอกถึงพลังสร้างสรรค์ของสตรีเพศ และการที่ศิวลึงค์และและโยนีอยู่ร่วมกันแสดงถึง "ความเป็นสองในหนึ่งเดียวที่แยกออกจากกันไม่ได้ของบุรุษและสตรี อวกาศที่หยุดนิ่งและเวลาซึ่งเคลื่อนที่อันเป็นต้นกำเนิดของสรรพชีวิต ตั้งแต่สิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิชาการตีความว่าศิวลึงค์และโยนีเป็นอวัยวะเพศชายและหญิง ขณะที่ชาวฮินดูเห็นว่าทั้งสองสิ่งเป็นเครื่องแสดงถึงหลักการที่ว่าหญิงและชายไม่อาจแยกออกจากกันได้และเป็นเครื่องหมายแห่งการก่อกำเนิด


* DSCF9109.JPG (291.11 KB, 800x533 - ดู 163 ครั้ง.)

* DSCF9112.JPG (298.51 KB, 800x533 - ดู 179 ครั้ง.)

* DSCF9113.JPG (296.74 KB, 800x533 - ดู 270 ครั้ง.)

* DSCF9132.JPG (213.94 KB, 800x533 - ดู 176 ครั้ง.)

* DSCF9115.JPG (254.91 KB, 800x533 - ดู 167 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:11:17 AM »


ผลงานชิ้นต่อมา ชื่อ “84,000 WORDS” ที่ผู้สร้างสรรค์อธิบายไว้ว่า ความหลากหลายในรูปแบบภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสาร มีรูปอักขระเชิงสัญลักษณ์อันประกอบควบตัวอักษรพยัญชนะ หรือสระผสมรอยเรียงกันขึ้นเป็นรูปประโยคในถ้อยคำภาษาต่างๆ เพื่อใช้สื่อความหมายตอบโต้คุยกัน และยังมีอีกภาษาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญญาความรู้ มีความเฉพาะด้านเนื้อหาสาระที่สกัดให้คงไว้เพียงแก่นแท้ของความนึกคิดแสดงตัวตนพ้นความเป็นรูปและเรื่อง คือภาษาสากลของศิลปะที่มีทัศนธาตุประกอบรวมกันด้วยไวยากรณ์ทางภาษาภาพที่เป็นนามธรรมของภาษาซึ่งสามารถรับรู้ได้โดยมโนคติ

ผลงานชิ้นต่อมาชื่อ “THE CREATION OF SCULPTURES USING HIGHBRED SEEDS FROM ANCESTORS” เป็นงานสื่อผสม ที่ผู้สร้างสรรค์ได้อธิบายไว้อย่างยาวเหยียดว่า ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมทุกรูปแบบย่อมมาซึ่งบทเรียนให้คนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม และผู้คนตามท้องที่ถิ่นต่างๆ ได้รู้ตื่นเพื่อทำใจยอมรับตามติดความเจริญด้านระบบกลไกเศรษฐกิจของกระแสโลกเสรีทางปัญญาและไร้พรมแดน ที่ไมได้ให้ความสำคัญต่อกฎเกณฑ์ด้านดุลยภาพ เสรีภาพทางปัญญาที่ควรจะเป็น เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำปฏิบัติต่างกับคนทุกชนชั้นในสังคม ที่ทุกชีวิตเดินตามแสวงความต้องการความสงบสุขของตนเอง โดยอาศัยกลไกสลับซับซ้อนของสังคมเมืองเดินก้าวผ่านความมืดบอดของราตรีกาล ไม่รู้จุดหมายปลายทางถึงจุดใด ที่ใดเพียบพร้อมไปด้วยกลิ่นอายแห่งความสมบูรณ์ของชีวิตเหมือนเป็นภาพลวงตาของนักแสวงโชคฉันท์ใด การคิดสมมติไปเองสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้และจะได้สิ่งที่ต้องการมาฉันท์นั้น ขาดซึ่งดุลยภาพความลงตัวสอดรับทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งบรรพชน ที่มีความใส่ใจภูมิปัญญาพื้นถิ่นค่อยๆ เติบใหญ่ตามลักษณะนิสัย พฤติกรรม ธรรมชาติของคนในชุมชน สังคมและสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่อย่างเป็นขั้นเป็นตอนที่ตื่นรู้ตลอดเวลา คือความสมบูรณ์แห่งความดีงามของราตรีกาลที่มนุษย์ทุกผู้ทุกคนแสวงหา ประวัติศาสตร์ถูกแก้ไขก็ต้องมีความจริงใจต่อคุณค่าความดีงามของแบบอย่างบรรพบุรุษ เรียนรู้ควบคู่กันไปกับสังคมธรรมชาติและสภาพแวดล้อม พึ่งพาอาศัยร่มเงากันตามความพอเหมาะพอดีไม่มากไม่น้อยดุลยภาพชีวิตสังคม ธรรมชาติจึงเดินไปด้วยกันอย่างมีความสุขสงบ ดั่งเมล็ดพันธุ์สมบูรณ์ของบรรพบุรุษและเกิดสันติได้ตามการแสวงหาของผู้เจริญแล้ว

อีกชิ้นชื่อ “ความเหมือนในความต่าง 1“ เป็นงานสีอะคริลิคบนผ้าใบ ที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวในอดีตสู่พื้นที่ปัจจุบันบนเส้นระนาบเดียวกัน เช่นเดียวกับพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่ถูกปรุงแต่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผ่านการประชาสัมพันธ์ในเชิงอนุรักษ์ภายใต้เงื่อนไขของระบบทุนนิยม จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

นิทรรศการ Neo Lanna Lllusion มีไปจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2559 ใครไปดูไม่ทัน ก็ชมในนี้กันได้ครับ


* DSCF9123.JPG (244.05 KB, 800x533 - ดู 257 ครั้ง.)

* DSCF9122.JPG (590.42 KB, 800x1200 - ดู 204 ครั้ง.)

* DSCF9130.JPG (259.92 KB, 800x533 - ดู 253 ครั้ง.)

* DSCF9127.JPG (271.32 KB, 800x533 - ดู 260 ครั้ง.)

* DSCF9133.JPG (709.28 KB, 800x1200 - ดู 190 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
parsuk
Hero Member
*****
กระทู้: 1447


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 01, 2016, 10:02:44 AM »


 909
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: “Neo Lanna Lllusion” นิทรรศการผลงานคณาจารย์ภาควิชาทัศนศิลป์ ปี 2559 « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง