ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
เมษายน 19, 2024, 03:25:17 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่  (อ่าน 3632 ครั้ง)
lady darika
Full Member
***
กระทู้: 232


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 02:46:27 AM »


มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “เชียงใหม่” ของใครหลายคน ไม่ได้หมายรวมถึง “วัดเชียงมั่น” พระอารามแห่งแรกของนครเชียงใหม่ บรรยากาศรอบวัดทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยือนอยู่ไม่ขาดสาย แต่มีนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือแม้แต่ชาวเชียงใหม่น้อยจนใจหาย ราวกับพระอารามแห่งนี้ถูกกาลเวลากลืนกิน ชื่อเสียงเรียงนามจึงค่อยๆ เลือนไปตามกาลเวลา จะมีคนเมืองรุ่นใหม่สักกี่คนที่รับรู้ถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของพระอารามเก่าแก่อายุกว่า ๗๐๐ ปีแห่งนี้ ไม่มากไม่น้อยไปกว่าอายุอานามของเมืองเชียงใหม่เลย

ครั้งเมื่อพญามังรายตีได้เมืองลำพูน และย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๒ ปี พระองค์มีดำริสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นแทนเวียงกุมกาม ซึ่งประสบอุทกภัยอยู่เนืองๆ “เชียงใหม่” คือเมืองแห่งใหม่บนแอ่งที่ราบเชิงดอยสุเทพ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง หลังจากพญามังราย ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ล้านนา พร้อมด้วยพระสหายคือ พญางำเมือง และพญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) สร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นบริเวณ “เวียงเหล็ก” พระราชวังของพระองค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งทับพื้นที่ “หอนอน” หรือ “พระราชมณเฑียร” ของพระองค์ พระราชทานนามพระอารามแห่งแรกนี้ว่า “วัดเชียงมั่น” หมายถึง “บ้านเมืองที่มั่นคง” เป็นเป็นสิริมงคลแก่เมือง

พระประธานภายในวิหารหลวงวัดเชียงมั่น ด้านหลังมีกู่ก่อิฐถือปูนลวดลายสวยงาม

บนถนนราชภาคินัย ฝั่งประตูช้างเผือก ใกล้ๆ กับแจ่งศรีภูมิ ทิศอันเป็นมงคลตามหลักทักษา เป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ บรรยากาศในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น ดอกลั่นทมส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ไปทั่ว อาคารหลังแรกที่เราพบเมื่อผ่านประตูหน้าวัดเข้ามาคือ “วิหารหลวง” สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนเป็นชั้น ลดหลั่นกัน ชายคาใกล้พื้นดิน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-สุโขทัย หน้าบรรณของพระวิหารเป็นลายพรรณพฤกษา โก่งคิ้วอ่อนช้อยมีลวดลายประดับงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ด้านหลังมีกู่ลวดลายสวยงามประดิษฐานพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ผนังวิหารประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังสีทองบนพื้นสีชาด บอกเล่าเรื่องราวการสร้างวัด และการสร้างเมืองเชียงใหม่

พระอุโบสถวัดเชียงมั่น สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ชายคาเตี้ย

หน้าบรรณพระอุโบสถแบบม้าต่างใหม่ แสดงถึงลักษณะโครงสร้างหลังคาแบบสถาปัตยกรรมล้านนา

ใกล้กับกำแพงด้านตะวันตกมีพระอุโบสถไม้ ศิลปะล้านนาอ่อนช้อย สวยงาม หน้าบรรณพระอุโบสถเป็นแบบม้าต่างไหม แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างหลังคาอันมีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนาดั้งเดิม ด้านหน้าอุโบสถมีศิลาจารึกอักษรฝักขามไทยวน บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “จารึกวัดเชียงมั่น” หรือ “จารึกหลักที่ ๗๖”

พระเจดีย์ทรงปราสาท ฐานมีช้างล้อม ๑๖ เชือก

ด้านหลังพระวิหาร เดิมสันนิษฐานว่าเป็นหอนอนของพญามังราย มีพระเจดีย์ทรงปราสาท บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานเจดีย์มีช้างล้อม 16 เชือก เหนือเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมปิดทองจังโก อิทธิพลศิลปะสุโขทัย สันนิษฐานว่าดั้งเดิมพระเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปราสาทห้ายอด (เจดีย์ห้ายอดเชียงยัน) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเจดีย์ล้านนาในยุคแรก แต่ได้พังลงมาครั้งหนึ่ง และได้รับการบูรณะใหม่เป็นรูปทรงปัจจุบัน ใกล้ๆ กันนั้นมีหอไตรกลางน้ำ สถาปัตยกรรมล้านนา ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎก ปัจจุบันวิหารหลาง พระเจดีย์ อุโบสถ และหอไตรกลางน้ำ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว

กู่คำภายในวิหารจตุรมุข ประดิษฐานพระแก้วขาว และพระศิลา

พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่นับถือสืบต่อกันมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากผลึกหินสีขาวขุ่น มีอายุกว่า ๑๘๐๐ ปี ตามตำนานกล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างเมืองละโว้ ที่พระนางจามเทวีอัญเชิญขึ้นมาด้วย ครั้งเมื่อพระนางมาครองเมืองลำพูนหริภุญไชย พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ พระศิลาปางปราบช้างนาฬาคีรี เป็นพระพุทธรูปแกะสลักบนหินสีดำ สกุลช่างปาละ จากอินเดีย อายุกว่า ๒๕๐๐ ปี พระพุทธรูปสำคัญทั้งสององค์นี้ประดิษฐานอยู่ในกู่ภายในวิหารจตุรมุข

หากใครมีโอกาสมาเยือนเมืองเชียงใหม่ นอกจากดอยสุเทพ วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวงแล้ว อย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมวัดเชียงมั่น พระอารามคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้กันบ้าง แล้วคุณจะได้สัมผัสลึกถึงอดีตอันรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา บนจุดกำเนิดนครเชียงใหม่กันเลยทีเดียว

เรื่องโดย เลดี้ ดาริกา
ภาพโดย Darkslayer

 917
บันทึกการเข้า
auto
Administrator
Hero Member
*****
กระทู้: 5733


**Chiang Mai, I love you**


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 10:39:20 AM »


เชียงใหม่ ยังมีสถานที่น่าไปเยือน เช่น วัดวาอาราม อยู่อีกเยอะมาก
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน ครับ  :onio:
บันทึกการเข้า

kurova
Full Member
***
กระทู้: 204


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 03:42:52 PM »


เป็นอีกวัดหนึ่งที่ต้องแนะนำให้นักท่องเที่ยวทุก ๆ ท่านถ้ามาเชียงใหม่แล้วต้องไปชม นะคะ
 901
บันทึกการเข้า
natchumon
Full Member
***
เพศ: หญิง
กระทู้: 123



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 04:36:05 PM »


สวยมากจริงๆค่ะ เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีวัดสวยๆเยอะมากค่ะ  :16: :16: :16:
บันทึกการเข้า
touring
Full Member
***
กระทู้: 147



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2014, 10:14:09 AM »


มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “เชียงใหม่” ของใครหลายคน ไม่ได้หมายรวมถึง “วัดเชียงมั่น” พระอารามแห่งแรกของนครเชียงใหม่ บรรยากาศรอบวัดทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยือนอยู่ไม่ขาดสาย แต่มีนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือแม้แต่ชาวเชียงใหม่น้อยจนใจหาย ราวกับพระอารามแห่งนี้ถูกกาลเวลากลืนกิน ชื่อเสียงเรียงนามจึงค่อยๆ เลือนไปตามกาลเวลา จะมีคนเมืองรุ่นใหม่สักกี่คนที่รับรู้ถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของพระอารามเก่าแก่อายุกว่า ๗๐๐ ปีแห่งนี้ ไม่มากไม่น้อยไปกว่าอายุอานามของเมืองเชียงใหม่เลย

ครั้งเมื่อพญามังรายตีได้เมืองลำพูน และย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๒ ปี พระองค์มีดำริสร้างเมืองหลวงใหม่ขึ้นแทนเวียงกุมกาม ซึ่งประสบอุทกภัยอยู่เนืองๆ “เชียงใหม่” คือเมืองแห่งใหม่บนแอ่งที่ราบเชิงดอยสุเทพ บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง หลังจากพญามังราย ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ล้านนา พร้อมด้วยพระสหายคือ พญางำเมือง และพญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) สร้างเมืองเชียงใหม่แล้วเสร็จ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นบริเวณ “เวียงเหล็ก” พระราชวังของพระองค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งทับพื้นที่ “หอนอน” หรือ “พระราชมณเฑียร” ของพระองค์ พระราชทานนามพระอารามแห่งแรกนี้ว่า “วัดเชียงมั่น” หมายถึง “บ้านเมืองที่มั่นคง” เป็นเป็นสิริมงคลแก่เมือง

พระประธานภายในวิหารหลวงวัดเชียงมั่น ด้านหลังมีกู่ก่อิฐถือปูนลวดลายสวยงาม

บนถนนราชภาคินัย ฝั่งประตูช้างเผือก ใกล้ๆ กับแจ่งศรีภูมิ ทิศอันเป็นมงคลตามหลักทักษา เป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ บรรยากาศในวัดมีต้นไม้ร่มรื่น ดอกลั่นทมส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ไปทั่ว อาคารหลังแรกที่เราพบเมื่อผ่านประตูหน้าวัดเข้ามาคือ “วิหารหลวง” สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนเป็นชั้น ลดหลั่นกัน ชายคาใกล้พื้นดิน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-สุโขทัย หน้าบรรณของพระวิหารเป็นลายพรรณพฤกษา โก่งคิ้วอ่อนช้อยมีลวดลายประดับงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย ด้านหลังมีกู่ลวดลายสวยงามประดิษฐานพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ผนังวิหารประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังสีทองบนพื้นสีชาด บอกเล่าเรื่องราวการสร้างวัด และการสร้างเมืองเชียงใหม่

พระอุโบสถวัดเชียงมั่น สถาปัตยกรรมล้านนา หลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ชายคาเตี้ย

หน้าบรรณพระอุโบสถแบบม้าต่างใหม่ แสดงถึงลักษณะโครงสร้างหลังคาแบบสถาปัตยกรรมล้านนา

ใกล้กับกำแพงด้านตะวันตกมีพระอุโบสถไม้ ศิลปะล้านนาอ่อนช้อย สวยงาม หน้าบรรณพระอุโบสถเป็นแบบม้าต่างไหม แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างหลังคาอันมีเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมล้านนาดั้งเดิม ด้านหน้าอุโบสถมีศิลาจารึกอักษรฝักขามไทยวน บอกเล่าเรื่องราวของการสร้างเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “จารึกวัดเชียงมั่น” หรือ “จารึกหลักที่ ๗๖”

พระเจดีย์ทรงปราสาท ฐานมีช้างล้อม ๑๖ เชือก

ด้านหลังพระวิหาร เดิมสันนิษฐานว่าเป็นหอนอนของพญามังราย มีพระเจดีย์ทรงปราสาท บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานเจดีย์มีช้างล้อม 16 เชือก เหนือเรือนธาตุเป็นเจดีย์ทรงกลมปิดทองจังโก อิทธิพลศิลปะสุโขทัย สันนิษฐานว่าดั้งเดิมพระเจดีย์องค์นี้เป็นทรงปราสาทห้ายอด (เจดีย์ห้ายอดเชียงยัน) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเจดีย์ล้านนาในยุคแรก แต่ได้พังลงมาครั้งหนึ่ง และได้รับการบูรณะใหม่เป็นรูปทรงปัจจุบัน ใกล้ๆ กันนั้นมีหอไตรกลางน้ำ สถาปัตยกรรมล้านนา ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎก ปัจจุบันวิหารหลาง พระเจดีย์ อุโบสถ และหอไตรกลางน้ำ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติแล้ว

กู่คำภายในวิหารจตุรมุข ประดิษฐานพระแก้วขาว และพระศิลา

พระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่นับถือสืบต่อกันมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากผลึกหินสีขาวขุ่น มีอายุกว่า ๑๘๐๐ ปี ตามตำนานกล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างเมืองละโว้ ที่พระนางจามเทวีอัญเชิญขึ้นมาด้วย ครั้งเมื่อพระนางมาครองเมืองลำพูนหริภุญไชย พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ พระศิลาปางปราบช้างนาฬาคีรี เป็นพระพุทธรูปแกะสลักบนหินสีดำ สกุลช่างปาละ จากอินเดีย อายุกว่า ๒๕๐๐ ปี พระพุทธรูปสำคัญทั้งสององค์นี้ประดิษฐานอยู่ในกู่ภายในวิหารจตุรมุข

หากใครมีโอกาสมาเยือนเมืองเชียงใหม่ นอกจากดอยสุเทพ วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวงแล้ว อย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมวัดเชียงมั่น พระอารามคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่แห่งนี้กันบ้าง แล้วคุณจะได้สัมผัสลึกถึงอดีตอันรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา บนจุดกำเนิดนครเชียงใหม่กันเลยทีเดียว

เรื่องโดย เลดี้ ดาริกา
ภาพโดย Darkslayer

 917

 :onio: :onio: :onio:
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: มุมมองใหม่วัดเชียงมั่น ปฐมอารามแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง