ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มีนาคม 29, 2024, 05:09:40 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่  |  หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : เทคนิคและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : เทคนิคและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์  (อ่าน 1738 ครั้ง)
konhuleg
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2015, 09:45:21 AM »


การที่งานหัตถกรรมจะเป็นที่จดจำ และดังเปรี้ยงปร้างได้นั้น สิ่งที่สำคัญหนึ่งอย่างที่บ่งบอกได้ถึงคุณภาพได้เป็นอย่างดีเลยก็คือ เทคนิคและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ครับ ว่ากันว่าตรงจุดนี้แหละ จะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายให้หับผลงาน ถ้าในทางภาษาฟุตบอล ก็คงต้องเป็นตำแหน่งกองหน้า ที่ต้องคอยยิงประตูเพื่อตัดสินเกมการแข่งขัน

สำหรับเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์ในการทำเครื่องเงิน ชาวชุมชนวัดศรีสุพรรณจะเริ่มจากการวาดรูปลวดลายที่บนตัวชิ้นงานก่อน แล้วจึงตอกลายจากด้านในให้นูนขึ้นตามแบบที่ร่างไว้ด้านนอก กระบวนการนี้เรียกว่าการ "ดุน" หลังจากนั้นจะใส่ "ชัน" (วัสดุเนื้อสีดำ มีความเหนียว หลอมเหลวได้ที่ความร้อนสูง) อัดไว้ในโพรงที่ดุนไว้ แล้วพลิกชิ้นงานกลับอีกด้านหนึ่ง นำมาวางบนแท่น แล้วทำการตอกลาย หรือ "บุ" เป็นลายต่าง ๆ ต่อไป รวมสองเทคนิคนี้เข้าด้วยกันจึงเรียกว่า "การบุดุน"
 
ในขณะที่สลุงพม่านิยมบุดุนเป็นลายลึกให้เป็นรูปชาดกหรือรูปสิบสองนักษัตร แต่สลุงของเชียงใหม่จะมีลายที่ไม่ลึกมากเท่ากับของพม่า แต่ก็ลึกกว่าของภาคกลาง แต่เดิมนนั้นชาวเชียงใหม่โบราณนิยมใช้สลุงเรียบ ต่อมาปรากฏมีลายที่หลากหลายบนภาชนะเครื่องเงิน เช่น ลายชาดก ลายสิบสองนักษัตร ลายดอกกระถิน ลายดอกทานตะวัน ลายสับปะรด ลายนกยูง ลายดอกหมาก ลายแส้ ลายฝักข้าวโพด เป็นต้น
 
ลายสิบสองนักษัตรของเชียงใหม่มีอายุกว่า 100 ปีมาแล้ว และมีความแตกต่างจากภาคอื่น ๆ ตรงที่ปีกุนเป็นรูปช้าง ไม่ใช่รูปหมูอย่างที่อื่น ขันเงินใบหนึ่งมักมีลายหลายอย่างผสมผสานกัน เช่น ลายนักษัตรมีรูปสัตว์อยู่ในกรอบรูปต่าง ๆ เช่น กรอบรูปแหลม หรืออาจจะมีรูปลิงหลายตัวต่อ ๆ กัน โดยที่กรอบหนึ่ง ๆ เรียกว่า โขงหนึ่ง ขันขนาดใหญ่จะมีครบทั้ง 12 ราศีในกรอบ 12 กรอบซึ่งก็จะเรียกว่า 12 โขง
 
ลายดอกกระถินมีลักษณะเป็นลายดอกที่เป็นตะแกรงถี่นูนรูปกลม มีใบยาวขึ้นไปตอนบน 2 ด้าน เหมือนเขาสัตว์ซึ่งไม่เหมือนใบกระถินจริง ๆ ส่วนลายดอกทานตะวันและลายสับปะรดนั้นดัดแปลงมาจากดอกกระถินอีกต่อหนึ่ง ลายดอกทานตะวันมีรูปดอกแบบเดียวกับดอกกระถินแต่แทนที่จะมีใบยาวแหลม 2 ใบขึ้นข้างบนก็มีกลีบเล็ก ๆ รอบ ๆ เกสรดอกเป็นกลีบทานตะวัน ลายบนสลุงเชียงใหม่นั้นมักไม่เสมอกันทุกกลีบ แต่อาจมีกลีบ 3–4 กลีบที่ยื่นยาวกว่าส่วนอื่น และมักยื่นขึ้นไปตอนบน ส่วนลายสับปะรดนั้นเหมือนดอกกระถินทุกอย่างแต่ตัวดอกหรือตัวสับปะรดนั้นจะเป็นรูปรียาวกว่าดอกกระถินซึ่งกลม


* DSCFX0395_1.JPG (288.27 KB, 800x533 - ดู 331 ครั้ง.)

* DSCFX0395_2.JPG (170.12 KB, 800x533 - ดู 330 ครั้ง.)

* DSCFX0395_3.JPG (154.55 KB, 800x533 - ดู 278 ครั้ง.)

* DSCFX0395_4.JPG (226.63 KB, 800x533 - ดู 311 ครั้ง.)

* DSCFX0395_5.JPG (319.33 KB, 533x800 - ดู 290 ครั้ง.)

* DSCFX0395_6.JPG (268.43 KB, 533x800 - ดู 337 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำสถานทีเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่-สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่  |  หัวข้อ: ชุมชนวัดศรีสุพรรณ หมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องเงิน : เทคนิคและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 18 คำสั่ง