ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มีนาคม 19, 2024, 12:27:45 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดหนองคำ ศิลปะของชาวต่องสู้ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดหนองคำ ศิลปะของชาวต่องสู้  (อ่าน 1243 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2016, 06:10:41 AM »


เมื่อเอ่ยถึง ชนเผ่าปะโอ หรือต่องสู้ น้อยคนนักที่จะรู้จัก ทั้งยังสงสัยด้วยว่า เกี่ยวข้องอะไรกันกับวัดหนองคำแห่งนี้ที่กำลังจะเขียนถึง

เท้าความกันซักนิด  ชนเผ่าปะโอ หรือต่องสู้ นั้น ถิ่นเดิม อยู่ในแถบเมืองปั่น ป๋างปี้ หนองอ้อ กิ่วเกาะ ในเขตรัฐฉานของพม่า ได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตตำบลนาปู่ป้อม ตำบลปางมะผ้า ตำบลถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่ไม่ปรากฎว่าเข้ามาในปี พ.ศ. ใด มีความเชื่อเรื่องผี ก่อนต่อมาจะนับถือพุทธศาสนาตามชาวไทยใหญ่

พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่อยู่กระจัดกระจายในตอนเหนือของประเทศพม่า เนื่องจากชาวต่องสู้ตั้งถิ่นฐานร่วมกับชาวไทใหญ่ โดยชาวต่องสู้อยู่บนดอยและที่ราบเชิงเขา ส่วนชาวไทใหญ่อยู่บริเวณที่ราบ ดังนั้นชาวต่องสู้จึงมีความสัมพันธ์กับชาวไทใหญ่ และมีวัฒนธรรมคล้ายไทใหญ่ ชาวไทใหญ่เรียกชาวต่องสู้ว่า “ ต่องสู้ ” พม่าเรียกว่า “ ต่องตู่ ” แปลว่า “ ชาวดอย ” หรือ “ คนหลอย ” แต่ชาวต่องสู้ไม่ชอบให้เรียกคำนี้ เพราะถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ ชาวต่องสู้เรียกเชื้อชาติของตนเองว่า “ ป่ะโอ่ ” หรือ ปะโอ แปลว่าชาวดอยเหมือนกัน

เมื่อแยกคำแล้ว มีผู้สันนิษฐานที่มาของคำว่า “ ป่ะโอ ” ว่าน่าจะมาจากคำว่า “ ผะโอ่ ” แปลว่าผู้อยู่ป่า เพราะในภาษาไทยคำตี่ คำว่า “ อู่ ” แปลว่าอยู่ เมื่อชาวต่องสู้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนล้านนา คนล้านนาเรียกตามชาวไทใหญ่ แต่สำเนียงเปลี่ยนไปว่า “ ต่องสู้ ”

และที่บอกว่าเกี่ยวข้องกันนั้นก็เพราะ เมื่อ พ.ศ.2380 โดยคณะศรัทธาสามัคคีหลายท่าน ซึ่งมีชาวปะโอ (ต่องสู้) ตลอดถึงคณะศรัทธาพี่น้องชาวเชียงใหม่ ที่เป็นพ่อค้าไม้ ได้พร้อมใจกันขายช้าง 7 เชือก ได้จัดหาซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างวัด  และเหตุที่ทางวัดได้ชื่อว่าวัดหนองคำนั้น สมัยก่อนพื้นที่ตั้งของวัดยังเป็นป่า มีบึงกว้างใหญ่และลึกมากอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ต่อจากบึงเป็นหนองน้ำ มีคนเล่าว่า ใต้บึงหนองน้ำนั้น มีทองคำ

ชาว “ ป่ะโอ ” ได้นำเอาศิลปะสถาปัตยกรรมมาเผยแพร่ในวัดแห่งนี้ด้วย ดังจะเห็นได้จาก พระอุโบสถ อาคารคอนกรีต ก่ออิฐถือปูนรูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมชาวปะโอ (ต่องสู้) ไม่มีช่องฟ้า ใบระกา หางหงส์ อันผิดแผกแปลกจากสถาปัตยกรรมไทยอย่างเด่นชัด มีภาพจิตรกรรมศิลปะชาวปะโอ พระพุทธรูป 3 องค์ ศิลปะชาวเขาเผ่าปะโอ ไหนจะมีพระวิหารหลังใหญ่ เป็นสถาปัตยกรรมครึ่งตึกครึ่งไม้ ด้านล่างก่ออิฐถือปูน จนถึงผนังด้านนอกของชั้นบน ด้านในเป็นอาคารไม้ศิลปะแบบปะโอ ชั้นบนแบ่งเป็นห้องๆ ใช้เป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ส่วนที่โล่งหรือห้องโถงใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นล่างใช้เป็นที่เก็บของและอื่นๆ ส่วนบนเพดานและตามฝาผนังด้านบน มีภาพจิตรกรรมที่สวยงดงาม

นอกจากนี้ก็ยังมีพระธาตุ ศิลปะเผ่าปะโอผสมล้านนา ลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยม ชั้นบนเป็นรูประฆังคว่ำบัวหงาย ชั้นกลางภายในทำเป็นห้องโถงใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฏก ให้ได้ชมกันอีกด้วยครับ


* IMG_0047.JPG (441.61 KB, 800x533 - ดู 224 ครั้ง.)

* IMG_0042.JPG (460.86 KB, 800x533 - ดู 276 ครั้ง.)

* IMG_0046.JPG (366.15 KB, 800x533 - ดู 219 ครั้ง.)

* IMG_0052.JPG (339.03 KB, 800x533 - ดู 319 ครั้ง.)

* IMG_0049.JPG (341.08 KB, 800x533 - ดู 220 ครั้ง.)

* IMG_0050.JPG (291.61 KB, 800x533 - ดู 222 ครั้ง.)

* IMG_0064.JPG (401.98 KB, 800x533 - ดู 224 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดหนองคำ ศิลปะของชาวต่องสู้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง