จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

ข้อมูล เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก => เที่ยวทั่วไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: konhuleg ที่ มิถุนายน 12, 2015, 01:02:07 PM



หัวข้อ: เที่ยวป่า "กางเต็นท์" กับหลากวิธีกางให้เป็นและกางให้ถูก
เริ่มหัวข้อโดย: konhuleg ที่ มิถุนายน 12, 2015, 01:02:07 PM
เห็นว่าเข้าในช่วงหน้าฝน (อันเป็นฤดูเริ่มต้นของการท่องเที่ยวแนวเดินป่า) สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติหลายแห่งอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ ซึ่งการพักแรมนั้น แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด คงหนีไม่เรื่องของการกางเต็นท์ครับ

เอาจากประสบการณ์จริง สมัยเราเรียนวิชาลูกเสือ ก็ไม่ได้มีการสอนเรื่องการกางเต็นท์แบบเป็นจริงเป็นจัง หรือเป็นล่ำเป็นสัน ส่วนใหญ่ที่เป็นกันก็มักจะมาเป็นกันเอาตอนโต เวลาต้องไปพักแรมตามป่าเขาลำเนาไพร และไอ้วิธีการเต็นท์เท่าที่เรารู้จากคู่มือที่มันแถมมาตอนซื้อ ส่วนใหญ่ก็จะอธิบายไปแค่ว่าวิธีการกางคร่าวๆ ว่าตั้งเสียบเสาเต็นท์ช่องไหน ตอกสมอยังไง ดึงผ้าเต็นท์แบบไหนกัน แต่ไม่ค่อยมีบอกกันเลยว่าข้อห้ามข้อควรระวังมีอะไรกันบ้าง (ถึงมีก็แค่รูปภาพอธิบายเล็กๆ) ฉะนั้น เลยอยากจะเอาความรู้เรื่องการกางเต็นท์มาฝากกัน สำหรับมือใหม่ที่อยากไปเที่ยวป่าแล้วพักแรมโดยการนอนเต็นท์ครับกระผม

อย่างแรกเรื่อง “ทำเลกางเต็นท์” ควรกางเต็นท์ให้อยู่นอกแนวของต้นไม้ ไม่ควรกางเต็นท์ไว้ใต้ต้นไม้ที่มีลักษณะยืนต้นตาย-กิ่งแห้งตาย เพื่อป้องกันกิ่งไม้หรือลำต้นหักโค่นลงมาทับ และหากต้องไปกางเต็นท์ในบริเวณที่เป็นพื้นที่โล่งสูง ควรยึดเต็นท์ให้มั่นคงที่สุด เพราะบนที่โล่งสูง อาทิ บนดอย บนภูเขา อาจมีลมกระโชกแรง อาจทำให้เต็นท์ปลิวกระเด็นกระดอนเสียหายหรืออาจทำให้เกิดอันตรายได้

ต่อมาถ้าเป็นการตั้งแคมป์-กางเต็นท์ช่วงที่มีฝนด้วย ไม่ควรกางเต็นท์ใกล้ ๆ กับบริเวณริมลำธาร เพราะหากเกิดฝนตกหนักอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากรุนแรงพัดพาไปกับสายน้ำเชี่ยวกรากได้ อีกทั้งจุดกางเต็นท์ไม่ควรเลือกบริเวณที่มีลักษณะคล้าย “แอ่งกระทะ” เพราะหากเกิดฝนตก น้ำจะไหลลงมาท่วมเต็นท์ได้ ส่วนที่ถูกที่ควรก็คือ ควรเลือกจุดที่เป็นเนินดิน แต่ก็ต้องระวังว่าเนินดินนั้น ๆ ไม่ใช่พื้นที่ซึ่งเป็นแนวที่น้ำไหลผ่าน

’จุดกางเต็นท์“ ที่ปลอดภัยนั้น ก็ไม่ควรเป็นบริเวณ ’ทางเดินของสัตว์“ เพราะตามธรรมชาติ สัตว์ส่วนใหญ่มักใช้เส้นทางนั้นออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งหากมีการกางเต็นท์พักแรมบริเวณนั้น ก็อาจ ’เกิดอันตราย“ ขึ้นได้ วิธีสังเกตว่าใช่-ไม่ใช่ทางเดินของสัตว์นั้น สังเกตง่าย ๆ โดยสำรวจดูว่าจุดที่จะกางเต็นท์พักแรมนั้นตั้งอยู่ใกล้กับหนองบึงที่มีร่องรอย มี “รอยเท้าของสัตว์” หรือไม่ ถ้าพบว่ามี ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะนั่นอาจเป็นพื้นที่ของสัตว์ป่า หรือแม้แต่แหล่งน้ำที่มีลักษณะเป็นน้ำนิ่ง ๆ มีน้ำขัง มีหญ้ารก ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะเป็นแหล่ง “ยุงก้นปล่อง” ที่เป็น “พาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย”

สำหรับหน้าฝน…

ข้อควรรู้อย่างแรกเลยคือ ห้ามกางเต็นท์ใต้ต้นไม้เด็ดขาด เพราะจะเจอปัญหาน้ำฝนค้างตามกิ่งไม้ ที่จะหยดลงมาใส่หลังคาเต็นท์ตอนลมพัด แถมตอนฝนตกหนักก็มักจะมีลมพัดแรง เสี่ยงต่อการถูกกิ่งไม้หักทับใส่เต็นท์ อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือต้นไม้สูงในที่โล่งๆ มักเป็นเป้าล่อสายฟ้า

ส่วนเทคนิคการกางเต็นท์เวลาที่ฝนตกหนักโดยไม่ให้เต็นท์ด้านในเปียก ขอแนะนำให้คลี่ฟลายชีต (ผ้าใบกันน้ำค้าง) ออกมาคลุมตัวเต็นท์ไว้ก่อน จากนั้นจึงสอดโครงเต็นท์ใต้ฟลายชีต แล้วยกตัวเต็นท์ขึ้นตั้งตามปกติ แค่นี้เต็นท์ของก็ไม่เป็นอันเปียกโชก และสุดท้ายการป้องกันไม่ให้น้ำขังที่กราวน์ชีต ควรนำหินก้อนโตๆ มาวางทำเขื่อนไว้ใต้กราวน์ชีตตรงมุมเต็นท์ วิธีนี้จะช่วยยกมุมทั้งสี่ของเต็นท์ให้สูงขึ้น (เป็นการป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้ามา)

ทั้งนี้ นอกจากสาระเรื่องการกางเต็นท์ที่นำมาฝากแล้ว การปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่ที่ไปกางเต็นท์อย่างเข้มงวด ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันครับ

แล้วไว้โอกาสหน้าจะหาสาระเรื่องพวกนี้มาฝากกันอีกเรื่อยๆ