จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => คุยเรื่องการเดินทาง => ข้อความที่เริ่มโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:01:49 PM



หัวข้อ: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:01:49 PM
การเดินทางโดยรถไฟ ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถเดินทางมาเที่ยว จ.เชียงใหม่ได้

การเดินทางโดยทางรถไฟ มีทั้งรถด่วน และรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ ทุกวัน สอบถามรายละเอียดกำหนดการเดินรถ ได้ที่หน่วยบริการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทยโทร. 0-2223-7010, 0-2223-7020 และที่เชียงใหม่ โทร. (053)-242094


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:02:19 PM
ภาพ หน้าสถานีรถไฟ เชียงใหม่ ;D


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:02:59 PM
ภายในชานชลา สถานีรถไฟ เชียงใหม่


หัวข้อ: ประวัติ สถานีรถไฟเชียงใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:03:43 PM
สถานีรถไฟเชียงใหม่
สถานีเชียงใหม่เป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญเมืองตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่ทั้งหมด 119 ไร่ ระยะทางจากกรุงเทพถึงสถานีเชียงใหม่ คือ 751 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง
ประมาณ 11ถึง13 ชั่วโมง

สถานีรถไฟเชียงใหม่ก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่มีหลักฐานถึงผู้ออกแบบซึ่งปรากฏในหนังสือ
วารสารรถไฟ ปีที่ 12 ฉบับที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ 2511 มีภาพสถานีรถไฟเชียงใหม่เต็ม 2 หน้า และมีคำบรรยายภาพว่า
"สถานีเชียงใหม่" คุณถาวร บุณยเกตุ สถานปนิกให้เรียกว่า แบบไทยเหนือ เพื่อรับกับภูมิประเทศและบรรยากาศของภาค
เหนือออกแบบโดย ศ.มจ.โวฒยากร วรวรรณ ในสมัยที่พระองค์ยังทรงเป็น ครฟ.รับราชการในกรมรถไฟเมื่อเกือบ 30 ปี
ก่อน”(คือเมื่อประมาณ พ.ศ.2481)

นอกจากนี้แล้ว ศ.มจ.โวฒยากร วรวรรณ ยังทรงออกแบบสถานีรถไฟธนบุรี ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2493
ทั้งสถานีเชียงใหม่และสถานีธนบุรีมีจุดเด่นคือ “หอนาฬิกา” จึงสันนิฐานได้ว่าสถานีเชียงใหม่คงจะสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียง กับสถานีธนบุรี คือ ปี พ.ศ.2493 หรือห่างกันเล็กน้อย เพราะภาพการ์ตูนในวารสารรถไฟ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม 2499 ก็มีภาพ ของสถานีเชียงใหม่ปรากฏอยู่ด้วย

ที่สำคัญคือในวารสารรถไฟปีที่ 2 ฉบับที่ 6 สิงหาคม 2500 มีบทความกล่าวว่าได้มีการก่อสร้างสถานีรถไฟใน
ทางสายเหนือทดแทนของเดิมและกล่าวถึงการเปิดใช้งาน สถานีตะพานหินและเด่นชัย เมื่อเดือนมิถุนายน 2500

ข้อมูลจาก: การรถไฟแห่งประเทศไทย
ออกแบบและจัดทำข้อมูลโดย คุณ Main_Alternator



หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:06:14 PM
จะเห็นธรรมชาติที่สวยงาม สอง ข้างทาง เมื่อ มาเชียงใหม่


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:06:59 PM
เส้นทางเดินรถไฟ กรุงเทพ - เชียงใหม่


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:08:54 PM
 :) ;)


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:13:25 PM
แต่สิ่งที่ ท่านจะเจอเมื่อมาเชียงใหม่ คือ การลอดผ่านถ้ำขุนตาน ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่ยาวที่สุด ในประเทศไทย


หัวข้อ: รำลึกตำนาน "อุโมงค์ขุนตาน"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:49:53 PM


อุโมงค์ขุนตานถือได้ว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านเรียกกันว่า "ถ้ำขุนตาน" ตามชื่อของดอยขุนตาน อุโมงค์นี้เปิดให้ใช้ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461 วัดความยาวของอุโมงค์ได้ 1,362.05 เมตร ภายหลังการขุดเจาะอุโมงค์ที่ถ้ำขุนตานแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่ และลำพูน

        สถาบันวิจัยหริภุญชัย จัดเวทีเสวนาเรื่อง "อุโมงค์รถไฟขุนตาน เปิดตำนานโลกทัศน์ล้านนาสู่โลกกว้าง" หวังฟื้นฟูความสำคัญของอุโมงค์ขุนตาน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวได้รู้จัก โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 ณ บริเวณสถานีรถไฟขุนตาน ภายในงานมีการจัดเวทีเสวนา มีตัวแทนจากสถาบันวิจัยหริภุญชัย องค์การบริหารส่วนตำบลทาปลาดุก และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

        การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ ระดมความคิดเห็นในการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุโมงค์รถไฟขุนตาน โดยเน้นให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม

        นายกำธร ธิฉลาด กรรมการสถาบันวิจัยหริภุญชัย ในฐานะผู้ประสานงาน กล่าวว่า การที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุโมงค์รถไฟขุนตาน ให้เชื่อมโยงกับอุทยานแห่งชาติดอยขุนตานหรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นใดในบริเวณใกล้เคียงนั้น จำเป็นที่จะต้องให้ชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา ร่วมกับองค์กรทั้งราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

        นอกจากนั้นในงานยังมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟขุนตานในอดีต ณ สถานีรถไฟขุนตาน โดยนายนเรนทร์ ปัญญาภู นักจดหมายเหตุอิสระซึ่งได้เก็บรวบรวมภาพการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาน นำมาจัดแสดงกว่า 50 ภาพ ทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนผู้สนใจได้ชม ขณะเดียวกันยังได้มีการเปิดเวทีเสวนาระดมความคิดเห็นจากนักปราชญ์ ผู้รู้ในท้องถิ่น นักวิชาการจากสถาบันหริภุญชัย นักจดหมายเหตุและประชาชนทั่วไป

         หากจะกล่าวถึงความสำคัญของอุโมงค์รถไฟขุนตานนั้น เริ่มต้นมีการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2448 เมื่อทางราชการได้เริ่มลงมือสำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายเหนือขึ้น โดยมีวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ มิสเตอร์ อี. ไอเซ็นโฮเฟอร์ ซึ่งเข้ามารับราชการในกรมรถไฟหลวงเมื่อปลายรัชกาลที่ 5

         ทางรถไฟสายเหนือสร้างจากกรุงเทพขึ้นมาจนถึงลำปางก็ต้องหยุดชะงัก เนื่องจากภูมิประเทศในแถบนี้เป็นภูเขาสูงและมีเหวลึก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การสร้างทางรถไฟต่อจากลำปางมาถึงเชียงใหม่ต้องล่าช้าออกไป อุปสรรค์อันใหญ่หลวงของการสร้างทางระหว่างลำปางมาเชียงใหม่ก็คือ จะต้องทำการขุดเจาะภูเขาขุนตาน ซึ่งอยู่บนสันเขาผีปันน้ำเขตรอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางกับจังหวัดลำพูน

         การสำรวจและขุดเจาะถ้ำขุนตานใช้เวลาถึง 11 ปีจึงแล้วเสร็จ งานขุดเจาะเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2450 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2461 โดยขุดเจาะจากภายนอกทั้งสองด้านเข้าไปบรรจบกันตรงกลาง ใช้ช่างชาวเยอรมันกว่า 250 คน กรรมกรชาวจีน อีสานและคนเมืองอีกหลายพันคน ในการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตานคนงานต้องพบกับอุปสรรคมากมาย มีกรรมกรชาวจีนจำนวนมากล้มตายลงที่นี่ด้วยโรคอหิวาและไข้มาลาเรีย ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงปัญหาเสือคาบคนงานไปกิน แม้แต่นายช่างชาวเยอรมันก็เคยถูกเสือที่เข้าไปหลบซ่อนอยู่ในอุโมงค์ทำร้ายบาดเจ็บมาแล้วส่วนงานเจาะภายในอุโมงค์นั้นใช้กรรมกรชาวอีสานกับคนพื้นเมือง เนื่องจากชาวจีนไม่ยอมทำงานในอุโมงค์ เพราะพวกเขาถือว่าในอุโมงค์เป็นที่สิงสถิตย์ของภูตผีปีศาจ

         เมื่อเริ่มทำการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานได้ไม่นาน ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียก่อน มิสเตอร์ อี. ไอเซ็นโฮเฟอร์ ถูกจับตัว เป็นเชลยศึกในฐานะชนชาติศัตรู ถูกขังในเมืองไทยนาน 6 เดือนแล้วถูกส่งต่อไปยังประเทศอินเดียอีก 2 ปี จากนั้นจึงถูกส่งกลับประเทศเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2463 ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 ท่านได้กลับมาเมืองไทยอีกครั้งและพำนักอยู่ในเมืองไทยจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2505 จึงเสียชีวิต

         ความยากลำบากในการสร้างทางรถไฟจากลำปางมาเชียงใหม่ นอกจากต้องเสียเวลาในการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตานนานถึง 11 ปีแล้ว บริเวณนี้ยังมีหุบเหวลึกอยู่หลายที่ในการสร้างทางรถไฟจะต้องใช้โครงเหล็กต่อจากพื้นด้านล่างขึ้นไปให้ได้ระดับทางรถไฟ เช่นที่สะพานเหวลึก หรือสะพานหอสูง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอุโมงค์ขุนตานไปเล็กน้อย สะพานนี้สร้างในตอนทางโค้งเวลาที่รถไฟวิ่งผ่านจะต้องชะลอความเร็ว เพราะนอกจากจะโค้งแล้วยังสูงอีกด้วย

         หากใครที่เคยนั่งรถไฟจากเชียงใหม่สู่กรุงเทพฯก่อนจะถึงถ้ำขุนตานยังมีสะพานขาวบ้านทาชมพู ซึ่งเป็นสะพานประวัติศาสตร์สร้าง สร้างขึ้นในยุคสมัยเดียวกับถ้ำขุนตาน (พ.ศ. 2462) เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินรถไฟจากลำปางมายังเชียงใหม่

         มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสะพานแห่งนี้ว่า สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารฝ่ายพันธมิตรต้องการจะทิ้งระเบิดทำลายเส้นทางเดินรถไฟของทหารญี่ปุ่นและหนึ่งในเป้าหมายทั้งหมดมีสะพานขาวบ้านทาชมพูรวมอยู่ด้วย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านใกล้เคียงจึงได้ช่วยกันทาสีสะพานให้เป็นสีดำเพื่ออำพรางตาจากทหารฝ่ายพันธมิตรจนสะพานแห่งนี้สามารถรอดพ้นจากการทิ้งระเบิดทำลายลงได้ นอกจากนี้ยังมีสะพานรัษฏาภิเศกข้ามแม่น้ำวังจังหวัดลำปางก็รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดเช่นกัน

         อุโมงค์ขุนตานถือได้ว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชาวบ้านเรียกกันว่า "ถ้ำขุนตาน" ตามชื่อของดอยขุนตาน อุโมงค์นี้เปิดให้ใช้ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2461 วัดความยาวของอุโมงค์ได้ 1,362.05 เมตร

         ภายหลังการขุดเจาะอุโมงค์ที่ถ้ำขุนตานแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่ และลำพูน เป็นเสมือนการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากความต้องการไม้สักของบริษัททำไม้อังกฤษ (บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า) นอกจากนี้ทางรถไฟดังกล่าวยังเป็นเส้นทางลำเลียงไม้สัก ข้าวและถ่านหุงต้มในเขตภาคเหนือไปยังตลาดภาคกลางได้สะดวกขึ้น

         สำหรับนักท่องเที่ยวและประชาชนที่สนใจเดินทางเข้าร่วมในงานเสวนาเรื่อง "อุโมงค์รถไฟขุนตาน เปิดตำนานโลกทัศน์ล้านนาสู่โลกกว้าง" สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันวิจัยหริภุญชัย 0-53

วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 14:33:41   
 
 


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:53:34 PM
สถานี กรุงเทพฯ (หัวลำโพง)


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:56:58 PM
ถ้ำขุนตาน


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:57:56 PM
รถไฟไทย :D


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 02:58:45 PM
สถานี ลำปาง


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 03:01:02 PM
วิว 2 ข้างทาง หากการเดินทางของท่านไม่รีบร้อนมากนัก แนะนำ ใช้บริการ ของรถไฟ ท่านจะเห็นวิถีชาวบ้าน / ธรรมชาติ / ขุนเขา ทั้ง 2 ข้างทาง เมื่อท่านโดยสารมากับรถไฟ


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 03:14:33 PM
 :) ;D


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 03:15:52 PM
ถึงแล้ว สถานีรถไฟ เชียงใหม่


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤษภาคม 12, 2007, 03:31:08 PM
 :) ;)


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ มิถุนายน 23, 2007, 11:35:11 AM
อดีต กับ ปัจจุบัน


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ กรกฎาคม 20, 2007, 12:16:43 PM
แนะนำ อีกอย่างหนึ่ง เวลาเดินทางโดยรถไฟครับ โดยเฉพาะขากลับไปกรุงเทพฯ แนะนำซื้อ พวกไก่ทอด ทานกับ ข้าวเหนียวร้อนๆ ไปทานบนรถไฟครับ ได้บรรยากาศมากๆ
เจ้าอร่อยที่แนะนำ คือ ไก่ทอดจอย ซึ่งร้านอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ (ฝั่งถนนข้างรถไฟ)


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: auto ที่ ตุลาคม 06, 2007, 03:53:43 PM
 ;D นั่งชมวิว กินเบียร์เย็น ๆ ระหว่างเดินทาง ในห้องส่วนตัว
มันเป็นบรรยากาศเฉพาะ ที่การเดินทางแบบอื่น ไม่มี

ข้อเสียตู้ชั้นหนึ่ง ก็มี ตรงที่ ไม่มีพวกพ่อค้าแม่ค้าขึ้นมาขายของกิน ระหว่างทาง นี่แหละ เพราะเขากันไม่ให้เข้ามา



หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: max ที่ พฤศจิกายน 21, 2007, 04:51:33 PM
ป้ายด้านหน้า ของสถานีรถไฟ เชียงใหม่ ครับ


หัวข้อ: Re: นั่งรถไฟ ไป "เชียงใหม่"
เริ่มหัวข้อโดย: chiangmaiboy ที่ ธันวาคม 17, 2008, 03:43:03 PM
มาช่วย up

เพราะมีคนถามมา เรื่องเดินทางโดยรถไฟ ;D