ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤษภาคม 12, 2024, 11:04:34 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: พาตะลุยชมของสะสมโบราณที "หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ" 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พาตะลุยชมของสะสมโบราณที "หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ"  (อ่าน 1562 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 01:19:04 PM »


มาหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  ก็บ่อย แต่เพิ่งยังกะรู้ว่าที่นี้มี หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ฝังตัวไว้อยู่ด้วย และผมก็คิดว่า มีน้อยคนเลยล่ะที่จะรู้จัก ถ้าไม่นับคนทำงานที่นี้

เรื่องมันมีอยู่ว่า บังเอิญไปเจอป้ายตรงบันไดทางขึ้นชี้ขึ้นไปบอกว่าชั้นสองมีหอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ทีแรกก็ชักไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ เพราะว่ามันค่อนข้างที่จะเงียบ และอาจจะปิดแล้ว แต่เพื่อความแน่ใจ การเดินขึ้นไปแว่บดูคงไม่มีอะไรน่าเสียหาย

ใครมา หลังจากเดินเข้าชั้นล่างของหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  ให้เลี้ยวซ้ายมาครับ เดินมาจนเกือบสุดทางตรงห้องโสตฯ บันไดอยู่ขวามือ เดินขึ้นมาตรงนั้น มันคือเส้นทางที่จะพาทุกท่านเข้าสู่ หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ เหอะๆๆ

เดินเข้ามาจะมีประตูสองฝั่ง ซ้ายมือกับขวามือ ทางซ้ายคือทางเข้า ทางขวาคือทางออก ตรงป้ายประตูบอก เปิด 09.00 -11.00 น. และเวลา 14.00-17.00 น.

หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ แห่งนี้เกิดขึ้นมา คงต้องย้อนไปตั้งแต่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่ เกิดขึ้นครับ ซึ่งก็มาจากดำริของ ฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)  ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก  2531 ก่อนต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31  สิงหาคม  พ.ศ.2532  และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่  1  กันยายน  พ.ศ.2532  ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8  เชียงใหม่  กรมศิลปากร  กระทรวงวัฒนธรรม

และเมื่อหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่ เกิดขึ้น หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือก็กำเนิดขึ้นตาม โดยให้บริการลักษณะเป็นห้องจัดแสดงศิลปวัตถุ  สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ภาพถ่ายของชาวล้านนาในอดีต  ที่ประชาชนได้มอบให้พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  เนื่องในโอกาสวันเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  และท่านได้มอบให้หอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่  เป็นผู้ดูแลต่อไป

นั่นคือคร่าวๆ ของที่มาและที่ไปของหอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือแห่งนี้

สำหรับบรรยากาศภายในหอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ค่อนข่างที่จะเงียบจนถึงขั้นวังเวง แถมเจ้าหน้าที่ก็ไม่อยู่ (สงสัยพักไปรับประทานอาหารเที่ยง) ห้องถูกแบ่งเป็นสองฝั่ง ตามผนังห้องจะมีตู้จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งตรงกลางห้องด้วย โดยตู้แต่ละตู้จะแบ่งออกเป็นตามหมายเลข และมีชื่อจังหวัดแปะไว้ เพื่อบ่งบอกสิ่งของนั้น เป็นสิ่งของจากจังหวัดไหน ใครเป็นคนมอบให้ และมีสาระสำคัญบ้าง เรียกได้ว่ามีการจัดสรรปันส่วน ให้ดูง่าย แต่น่าเสียดายหน่อยที่ไม่ได้เปิดไฟในตู้ให้ส่องสว่าง ดูได้สะดวกตา


* 2016-05-11_12.14.24_1.jpg (345.51 KB, 800x600 - ดู 214 ครั้ง.)

* 2016-05-11_11.44.38_1.jpg (330.44 KB, 800x600 - ดู 202 ครั้ง.)

* 2016-05-11_11.43.56_1.jpg (348.87 KB, 800x600 - ดู 198 ครั้ง.)

* 2016-05-11_11.51.44_1.jpg (349.92 KB, 800x600 - ดู 192 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.12.43_1.jpg (412.4 KB, 800x600 - ดู 177 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 01:21:50 PM »


จากการเดินตระเวนไล่ดูนั่นนี้ ในนี้ราวเกือบชั่วโมง ตามตู้จัดแสดงต่างๆ กระผมจะขอหยิบยกและเล่าถึงสิ่งของสำคัญบางอย่าง ที่น่าสนใจ มาให้อ่านกันดังนี้

เครื่องสังคโลก จากสุโขทัย  เครื่องปั้นดินเผา อันเป็นวัฒนธรรมเชิงหัตถศิลป์ที่สืบทอดจากอดีต พัฒนาจนมาเป็นเครื่องใช้ไม้สอยที่ทันสมัยจนทุกวันนี้  โดยเครื่องสังคโลก คือเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในรูปภาชนะเครื่องใช้ และเครื่องประดับอาคารต่าง ๆ มีทั้งที่เคลือบน้ำยาและไม่เคลือบน้ำยา ลักษณะเด่นคือ เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื้อละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดเนื้อแตกลายงาสีเขียวไข่กา วิวัฒนาการของการเคลือบสีเขียวประณีตงดงามทำให้มีการเรียกชื่อเครื่องปั้นดินเผาสีเขียวว่า "เซลาดอน" ซึ่งเคลือบสีระดับต่าง ๆ กัน เช่น สีเขียวไข่กา สีเขียวมะกอก

จากเครื่องสังคโลกมายังเครื่องจักรสานชนิดนึง ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย ที่พระร่วงทรงคิดขึ้นสำหรับใส่น้ำส่งส่วยให้ขอมเป็นภาชนะจักสานขึ้นด้วยชัน น้ำไม่รั่วเรียกว่า กระออม หรือครุ

โดยเจ้ากระออม หรือ ครุ นั้น ทำด้วยไม้ไผ่ และหวายโดยสานเป็นตาถี่ มีชันยาทาภายในโดยรอบเพื่อใช้ตักน้ำไม่รั่ว น้ำหนักเบา ขนย้ายง่ายสะดวกกว่าการใช้เครื่องปั้นดินเผา ในสมัยนั้นกระออมหรือครุ จัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดขึ้นใหม่ ประชาชนจึงตื่นเต้นเห็นเป็นของวิเศษ ส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในบุญบารมี ของพระร่วง ข้าศึกขอมกลัวเกรงพากันหลบหนีไป พระร่วงจึงเป็นหัวหน้าทำการสงครามรบชนะข้าศึก เป็นอิสรภาพพ้นอำนาจ จากขอมและตั้งประเทศไทยขึ้น เป็นกษัตริย์ปกครอง โดยยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีตั้งแต่นั้นมา

จากสุโขทัยมายังอุตรดิตถ์ มีดาบเหล็กน้ำพี้ สุดยอดดาบแห่ง จังหวัดอุตรดิตถ์ อันมีความเกี่ยวเนื่องกับบุคคลทางประวัติศาสตร์ คือ “ท่านยาพิชียดาบหัก” ซึ่งท่านยาพิชัยเป็นเจ้าเมืองในสมัยธนบุรี ซึ่งในตำนานได้เล่าสืบต่อกันมาว่าข้าศึก ศัตรูในสมัยโบราณมีการลงอักขระไว้ที่ร่างกาย ซึ่งท่านยาพิชัยได้ใช้ดาบเหล็กน้ำพี้ปราบข้าศึกศัตรูจนชนะมาหลายครั้งแล้ว ทำให้คนโบราณเชื่อกันว่า ดาบเหล็กน้ำพี้สามารถฟันฝ่าอักขระบนตัวของข้าศึกได้ แล้วถ้าใครได้ครอบครองดาบเหล็กน้ำพี้ก็จะช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่เข้ามาได้ และยังช่วยเสริมสร้างบารมีได้อีกด้วย

อีกหนึ่งสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ที่ขึ้นชื่อกันสำหรับ ภาคเหนือ ในเรื่องพระพิมพ์นั้น คงหนีไม่พ้น พระพิมพ์นางพญา แห่งพิษณุโลก มี พุทธคุณเป็นพระสร้างความเด่นด้านเมตตากรุณาและเป็นสวัสดิมงคล เน้นทางอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า คงกระพันชาตรี มิหวั่นเกรงคมศัสตราวุธ แคล้วคลาด ชนะศัตรู มีบารมี ผู้คนเกรงใจ ส่วนพระรอด ลำพูน พุทธคุณเน้นเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน อุดมด้วยโภคทรัพย์ ร่ำรวยทรัพย์ เด่นทางแคล้วคลาด คุ้มภัย


* 2016-05-11_12.10.23_1.jpg (445.64 KB, 800x600 - ดู 182 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.02.20_1.jpg (858.2 KB, 800x1067 - ดู 197 ครั้ง.)

* 2016-05-11_11.46.22_1.jpg (443.4 KB, 800x600 - ดู 190 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.11.35_1.jpg (544.07 KB, 800x600 - ดู 171 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.12.55_1.jpg (611.01 KB, 800x600 - ดู 187 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2016, 01:26:00 PM »


มากันที่ของเชียงใหม่บ้าง มีผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม ที่มีเทคนิคการจกให้เกิดเป็นลวดลายบนผืนผ้า กระทําโดยใช้ขนเม่นหรือไม้ สอดนับด้ายเส้นยืน แล้วใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษจกหรือล้วงสอดสลับด้ายสีต่างๆ ลงไป ทําให้เกิดเป็นลวดลาย คล้ายการปักลงบนผืนผ้า เทคนิคการจกของแม่แจ่มเป็นการจกทางด้านหลังของลาย โดยคว่ำลายด้านหน้า ลงกับกี่ทอผ้า ผู้ทอสามารถผูกเงื่อนฝ้านตรงด้านหลังของลายได้สะดวกและแน่นหนากว่า ทําให้ผลงานมี ความละเอียดประณีตขึ้น

นอกจากผ้าซิ่นก็ยังมี เครื่องถ้วยสันกำแพง ที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีนเช่นเดียวกันกับเครื่องถ้วยสุโขทัยและสวรรคโลก เพราะลวดลายที่ ปรากฏบนเครื่องถ้วยชามที่ขุดพบเศษแตกใหม่มีอายุถึงสิ้นราชวงศ์ต้าหมิง ตรงกับสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ มีอายุถึงสิ้นราชวงศ์เชียงราย ( พ.ศ.1948-2101) ซึ่งเป็นสมัยที่อาณาจักรทางเหนือมีความเจริญที่สุด มีลักษณะเด่น คือมีฝีมือหยาบกว่าเครื่องถ้วยเวียงกาหลง สวรรคโลกและสุโขทัย เพราะเป็นดินชนิดหยาบมีทรายปนและไม่ได้กรองดินเสียก่อน การเคลือบส่วนใหญ่มีผิวด้านไม่ขึ้นเงาเป็นมัน มีตั้งแต่เหลืองถึงเขียวอ่อน บางชนิดเคลือบสีน้ำตาลเข้ม

หันมาดูของรวมๆ ที่เป็นภาคเหนือบ้าง มีเงินตราในภาคเหนือจัดแสดง ซึ่งในสมัยก่อนนั้นดินแดนตอนเหนือของประเทศไทยเคยเป็นดินแดนของชาวโยนก โดยมีแคว้นหิรัญนครเงินยางเป็นเมืองสำคัญ กระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหรียญกษาปณ์เงินจากภาคกลางจึงได้แพร่หลายไปในหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้กลายเป็นเงินตรามาตรฐานแทน หลังจากนั้นเป็นต้นมา ภาคเหนือจึงมีระบบเงินตราเดียวกับภาคกลาง ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ เงินตรา ที่เคยใช้อยู่ในภาคเหนือ จึงมีทั้งเงินตราของแคว้นหิรัญนครเงินยาง เงินตราของอาณาจักรล้านนา เงินตราของพม่า เหรียญเงินรูปีของอังกฤษ ปะปนกันหลายอย่าง อาทิ เบี้ยเงินปลา เงินกีบ เงินดอกไม้ เงินท้อก และเงินเจียง

ขันโตก หรือ โตก ภาชนะสำหรับวางสำรับอาหารของชาวล้านนา บ้างเรียก สะโตก มีรูปทรงกลม ความกว้างมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป มีเชิง สูงประมาณ 1 ฟุต มีทั้งขันโตกไม้ และขันโตกหวาย

เครื่องเขิน เป็นภาชนะเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่สาน แล้วทาด้วยรักสีดำ ตกแต่งลวดลายด้วยเปลือกหอยมุก ทองคำเปลว เงินเปลว ให้เกิดลวดลาย ที่สวยงามน่าชม เครื่องเขินเป็นภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันทางภาคเหนือ ภาชนะที่นิยมทำ เช่น แจกัน ถาด ตลับ ขันน้ำ โถ ที่เขี่ยบุหรี่ เชี่ยนหมาก ตลับ ตลุ่ม ฯลฯ ในปัจจุบันนอกจากจะใช้ไม้ไผ่สานแล้ว ยังใช้ไม้กลึงด้วย  เครื่องจักรและวัสดุอื่นๆอีกเช่นพลาสติก กระดาษอัด ไม้อัด เหล็ก อลูมิเนียม ดินเผา และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมามีรูปแบบต่างๆมากมายทั้งในรูปวัสดุ เครื่องใช้ในบ้านและเป็นของที่ระลึก เป็นต้น

นอกจากนี้ก็ยังมี สลุงหลวง หีบธรรม ชุดอาหารเมี่ยน หมาก มูย่า (กล้องยาสูบเส้น) อาวุธชาสล้านนาสมัยก่อน เครื่องดนตรี และสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ กันมากมาย ใครยังไม่เคยมาชม ยังไม่เคยรู้จัก หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ แวะมาชมกันได้ อยู่ใกล้ประตูสวนดอก


* 2016-05-11_11.54.38_1.jpg (510.58 KB, 800x600 - ดู 163 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.00.49_1.jpg (435.27 KB, 800x600 - ดู 177 ครั้ง.)

* 2016-05-11_11.53.39_1.jpg (419.33 KB, 800x600 - ดู 183 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.00.24_1.jpg (401.33 KB, 800x600 - ดู 171 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.13.27_1.jpg (421.3 KB, 800x600 - ดู 173 ครั้ง.)

* 2016-05-11_12.01.55_1.jpg (445.17 KB, 800x600 - ดู 181 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
cocore
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2016, 09:34:54 PM »


 911 911 มีแต่ของเก่าๆนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  แนะนำ พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หมู่บ้านวัฒนธรรม ในเชียงใหม่  |  หัวข้อ: พาตะลุยชมของสะสมโบราณที "หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ" « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 21 คำสั่ง