ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤษภาคม 16, 2024, 02:13:59 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดปันเสา: วัดเก่าแก่ และพระเจ้าแสนคำเมือง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดปันเสา: วัดเก่าแก่ และพระเจ้าแสนคำเมือง  (อ่าน 3456 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:11:56 PM »


ถ้าเทียบกับวัดอื่นๆ ในรอบคูเมืองด้านนอกของเชียงใหม่ ต้องถือว่าวัดปันเสาในวันที่ผมไปเที่ยว ถือว่าเงียบเหงาเอาการครับ แต่นั้นก็ไม่มีผลและอุปสรรคอันใด เพราะความน่าสนใจของวัดนั้น จัดได้ว่าน่าดึงดูดยิ่งนัก แถมยังดีซะอีกที่ไม่มีคนมาแย่งเราเที่ยว

วัดปันเสา อยู่คูเมืองรอบนอก คือถ้ามาจากประตูสวนดอกก่อนจะถึงแจ่งหัวริน วัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีร้านกาแฟบุญรักษา ตั้งอยู่ด้านหน้าของวัด ตรงนั้นสามารถจอดรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ได้ หรือถ้าไม่จอดตรงนี้ ก็เลี้ยวเข้าซอยข้างวัด จะมีประตูเข้ามาจอดยังด้านใน แต่พื้นที่ในวัดนั้นไม่ได้กว้างขวางอะไรมาก แบบพอจอดได้ว่างั้น


* DSCF6412.JPG (416.82 KB, 800x533 - ดู 420 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:12:34 PM »


วัดปันเสา หรืออีกชื่อคือ พันเส่า มาจากข้อสันนิษฐานว่า “พัน” คือจำนวน 1 พัน “เส่า” หมายถึง เตาหลอมที่ใช้หล่อพระพุทธรูปซึ่งเชื่อกันว่าวัดนี้เป็นสถานที่หล่อ “พระเจ้าเก้าตื้อ” เมื่อ พ.ศ. 2048 ชื่อวัดว่าพันเส่า จึงหมายถึง เตาหลอมจำนวนนับพัน ภาษาเขียน “พ” ภาษาอ่านจึงออกเสียง “ป” จึงเป็น “ปันเส่า” อย่างไรก็ตาม ต้องหาหลักฐานทางโบราณคดี เช่นหากเป็นที่หล่อพระพุทธรูปบริเวณวัดแห่งนี้ คงต้องมีเศษโลหะ หรือ “ขี้ตอง” ทับถมอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งจากการขุดสำรวจทางโบราณคดีโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดเฌอกรีน ช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 – ต้นปี พ.ศ. 2553 ยังไม่พบร่องรอยเศษโลหะหรือ “ขี้ตอง” แต่พบเครื่องปั้นดินเผารูปทรงสมบูรณ์มากกว่าเดิม พบร่องรอยแนวกำแพงแก้ว พบร่องรอยอาคารและแนวทางลำเหมืองเดิม


* DSCF6411.JPG (244.12 KB, 800x533 - ดู 345 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:13:19 PM »


เมื่อดูจากรายชื่อวัดเวียงชั้นนอก 51 วัดของเชียงใหม่ สำรวจ พ.ศ. 2450 ก็ไม่พบชื่อ “วัดปันเส่า” กลับมีชื่อวัดที่ออกเสียง “ปัน” และ  “พัน” หลายวัด เช่น วัดปันงอม วัดปันงาม วัดปันไค้ วัดนางปัน วัดพันช่าง วัดพันองค์ วัดพันอูนใต้ วัดพันตาแสง วัดพันแจ่ม วัดพันหนอง ฯลฯ แต่พบว่ามีชื่อที่สะท้อนว่าเป็นสถานที่หล่อพระพุทธรูปชัดเจนคือ “วัดพระตองแสนเตา” (ไม่ทราบที่ตั้ง) แต่เรียงลำดับชื่ออยู่ระหว่าง “แสนตาหน้อย” กับ “วัดพระเจ้าแค่งคม” ซึ่งหมายถึงวัดป่าตาล ที่ประดิษฐานพระเจ้าแค่งคม แสดงว่าเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ไม่ไกลกันนัก หากวัดนี้มีชื่อเสียงในการหล่อพระพุทธรูปจริง วัดนี้อาจชื่อว่า “วัดพระตองแสนเตา” ก็เป็นได้


* DSCF6414.JPG (293.18 KB, 800x533 - ดู 422 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:14:22 PM »


อนึ่ง ชื่อว่า “พันเสา” ในความหมายว่า วัดที่มีวิหารขนาดใหญ่มีเสานับพัน ซึ่งจากการขุดหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 พบว่าวิหารของวัดแห่งนี้มีขนาดใหญ่ประมาณเท่าวิหารหลวงวัดพระสิงห์ แต่เสาวิหารคงไม่มากถึง “พันเสา” หรืออาจเป็น “พันเลา” ในความหมายไม่ไผ่เป็น “เลา” จำนวนนับพัน เพราะที่เวียงกุมกาม ก็พบร่องรอยวัดชื่อ “พันเลา” สำนักงานมาลาเรียเขต 2 เคยเช่าพื้นที่วัด และกลายเป็นที่ราชพัสดุ พื้นที่ของเทศบาลนครเชียงใหม่บางส่วน

ส่วนชื่อวัดในปัจจุบันที่ปรากฏในหนังสือราชการ เช่น โฉนดที่ดิน และเอกสารของ ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีแลพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ กรมศิลปากร ปรากฏว่าเป็นชื่อวัด “ปันเสา” (จากหนังสือ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สองข้างถนนสุเทพ เขียนโดย รศ. สมโชติ อ๋องสกุล)


* DSCF6415.JPG (204.15 KB, 800x533 - ดู 334 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:15:27 PM »


ในปีพุทธศักราช 2550 ทางศูนย์มาลาเรีย เขต 2 เชียงใหม่ ได้บอกคืนพื้นที่ของวัดให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ทางคณะสงฆ์จึงได้มอบหมายให้พระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ประธานมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ ฟื้นฟูให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมอบหมายให้พระมหาอาวรณ์  ภูริปญฺโญ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งริเริ่มจัดตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเสา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับศรัทธาประชาชนโดยทั่วไป และสร้างเป็นสถานที่สำหรับรองรับพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมารับการรักษาพยาบาลที่ตึกสงฆ์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ แต่ไม่มีที่พักก็จะใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่พักชั่วคราว และจะสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


* DSCF6406.JPG (377.71 KB, 800x533 - ดู 442 ครั้ง.)

* DSCF6408.JPG (371.91 KB, 800x533 - ดู 423 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:17:47 PM »


สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือมีร่องรอยโบราณคดีที่เห็นได้จากภายนอก คือเจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ประกอบด้วยฐานเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมประมาณ สามชั้น รองรับด้วยฐานบัวย่อเก็จลูกแก้ว ถัดขึ้นไปเป็นหน้ากระดานกลมประมาณ 3 ชั้น รองรับมาลัยเถาที่เป็นแบบบัวคว่ำหน้ากระดาน 3 ชั้น แบบสุโขทัย องค์ระฆังใหญ่ที่บัลลังก์เป็นสี่เหลี่ยมยอกเป็นปล้องไฉนแบบสุโขทัย


* DSCF6395154876_3.JPG (526.08 KB, 800x533 - ดู 343 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:18:20 PM »


เมื่อ พ.ศ. 2528 ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีแลพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ กรมศิลปากร ได้ขุดค้นทางโบราณคดี เบื้องต้นพบว่าเจดีย์วัดนี้มีการสร้างซ้อนกัน 2 ชุด เจดีย์องค์เดิมที่อยู่ด้านในมีสัณฐานประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อเก็จ และถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมย่อเด็จและฐานบัวคว่ำบัวหงายแปดเหลี่ยม ตามลำดับ ลักษณะด้านแปลนส่วนล่างคล้ายเจดีย์อิทธิพลพุกาม ส่วนลักษณะแปดเลี่ยมอิทธิพลหริภุญชัย ส่วนที่เป็นย่อเก็จหายไป มีพัฒนาการเป็นรูปแบบทรงแปดเหลี่ยมอิทธิพลทราวดี (เช่น เจดีย์แปดเหลี่ยมเวียงท่ากาน และที่วัดกุมกามที่ปราม เวียงกุมกาม)


* DSCF6395154876_14.JPG (441.67 KB, 800x533 - ดู 418 ครั้ง.)

* DSCF6395154876_15.JPG (487.4 KB, 800x533 - ดู 379 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:20:12 PM »


ส่วนเจดีย์ที่สร้างครองภายหลัง สัณฐานล่างสุดเป็นเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 10x10 เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวย่อเก็จ หน้ากระดานฐานเขียงทรงกลมซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไป 3 ชั้น และชั้นมาลัยเถาแบบดั้งเดิมพื้นเมืองเชียงใหม่ คือฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีเส้นลูกแก้วคาด 2 เส้นแบบฐานบัวผสม ซ้อนเหลื่อมกันขึ้นไปสามชั้น ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังและบัลลังก์สัณฐานบัวสี่เหลี่ยมจัตุรัส คอฐาน ยอด ปล้องไฉน ส่วนเครื่องยอดชำรุดหลุดหายไป


* DSCF6395154876_1.JPG (551.6 KB, 800x1200 - ดู 200 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:20:47 PM »


ลักษณะเจดีย์ที่สร้างครอบ เน้นองค์ระฆังขนาดใหญ่ มีรูปทรงแบบทั้งเป็นทรงกระบอกและมีปลายผายออก เช่นเจดีย์กลมวัดพระสิงห์ วัดสวนดอก และวัดอุโมงค์ ล้วนเป็นกลุ่มเจดีย์ที่มีพัฒนาการอยู่ในระยะแรกของล้านนา นักโบราณคดีจึงประมาณว่าระยะเวลาที่ก่อสร้างเจดีย์ทั้งสององค์ที่ซ้อนกันทับกันในวัดนี้ ควรอยู่ในระยะแรกของราชวงศ์มังราย ประมาณรัชกาลพญาผายู (พ.ศ. 1879 – 1898) และพญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) หรือหลังจากนั้นไม่นานนัก


* DSCF6395154876_2.JPG (569.45 KB, 800x533 - ดู 336 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #9 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:22:09 PM »


จากเจดีย์ มาที่พระเจ้าแสงคำเมือง ที่ประดิษฐานภายในวิหารของวัดกันครับ

พระเจ้าแสงคำเมือง  เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และพระบรมวงศานุวงศ์  โดยท่านพระมหาอาวรณ์  ภูริปญฺโญ  รวมทั้งศรัทธาประชาชนทุกหมู่เหล่า  ตั้งสัจจอธิษฐานว่า  “ให้บุญกุศล ใน การสร้างองค์พระในครั้งนี้  จงดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชน ชาวไทย  ได้ทรงหายจากพระอาการประชวร”

หลังจากสร้างองค์พระเสร็จเรียบร้อยก็ได้มีพิธีอัญเชิญพระเจ้าแสงคำเมือง เข้าเมืองเชียงใหม่ทางประตูช้างเผือก  ซึ่งถือว่าเป็นประตูเดชเมือง ชาวนครพิงค์ล้านนา เชียงใหม่  มีความเชื่อว่าประตูช้างเผือกเป็นประตูมงคล หากใครได้ผ่านเข้ามาทาง ประตูนี้จะมีฤทธิ์เดช จะได้พละกำลัง และจะชนะทุกสิ่งทุกอย่าง พร้อมทั้งจะได้ทุก อย่างตามปรารถนา


* DSCF6395154876_5.JPG (358.38 KB, 800x533 - ดู 358 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #10 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:22:58 PM »


ในงานแห่พระเจ้าแสงคำเมือง มีศรัทธาประชาชนหลายคนได้ตั้งสัจจะ อธิษฐานให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง และหายจากพระอาการประชวร และอธิษฐานให้กับตัวเอง  มีหลายคนที่ สุขภาพไม่แข็งแรง  ตั้งใจมาดูพิธีแห่พระประธานที่บริเวณข่วงประตูช้างเผือก และก็คิดว่าคงไม่สามารถที่จะเดินร่วมขบวนได้แล้วเพราะสุขภาพไม่แข็งแรง แต่พอขบวนพระเจ้าแสงคำเมือง เคลื่อนปีติของญาติธรรมหลายท่านเกิดทำให้สามารถเดินเหินได้อย่างสะดวกคล่องแคล่ว และบางคนถึงกับร่ายรำตามขบวน พระเจ้าแสงคำเมือง อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแต่ประการใด


* DSCF6395154876_6.JPG (430.49 KB, 800x1200 - ดู 353 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #11 เมื่อ: เมษายน 19, 2017, 06:23:52 PM »


ด้วยปาฏิหาริย์อันเป็นมงคลนี้ ประชาชนหลายคนได้พากันมากราบไหว้ พระเจ้าแสงคำเมือง ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเสา เพื่อขอบารมีของท่านดลบันดาล ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ  ก็ทุเลาเบาบางลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน  บางคนมีอาการหายเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งหมดนี้ทุกคนเชื่อว่าเป็น พุทธปาฏิหาริย์ของ พระเจ้าแสงคำเมือง 

สำหรับใครที่มาเที่ยววัดแห่งนี้แล้ว ยังสามารถที่จะแวะเข้าไปชิมกาแฟบุญรักษาของทางวัดได้ครับ โดยร้านกาแฟร้านนี้เกิดจากแนวคิดของ พระมหาอาวรณ์ ภูริปญโญ เจ้าอาวาสวัดปันเสา ที่มีแนวคิดอยากนำรายได้ส่วนนี้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่างๆ ของวัด


* DSCF6395154876_4.JPG (345.46 KB, 800x533 - ดู 313 ครั้ง.)

* DSCF6395154876_8.JPG (766.2 KB, 800x1200 - ดู 209 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
parsuk
Hero Member
*****
กระทู้: 1447


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #12 เมื่อ: เมษายน 20, 2017, 02:54:06 PM »


 :16:
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดปันเสา: วัดเก่าแก่ และพระเจ้าแสนคำเมือง « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 21 คำสั่ง