จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2

เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ => วัดในจังหวัดเชียงใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: lady darika ที่ มีนาคม 08, 2014, 10:59:19 PM



หัวข้อ: นมัสการพระอัฐิธาตุสุดยอดเกจิทั่วฟ้าเมืองไทยที่ “วัดสันติธรรม”
เริ่มหัวข้อโดย: lady darika ที่ มีนาคม 08, 2014, 10:59:19 PM
นมัสการพระอัฐิธาตุสุดยอดเกจิทั่วฟ้าเมืองไทยที่ “วัดสันติธรรม”

วัดสันติธรรม ตั้งอยู่บนถนนหัสดีเสรี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เดิมชื่อ “วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ โดย “ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์” หรือรู้จักกันดีว่า “หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร” สร้างขึ้นบนพื้นที่วัดเก่าแห่งหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ วัดนี้ได้รับอนุญาตให้เป็นวัดอย่างเป็นทางการ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น  “วัดสันติธรรม” จนถึงปัจจุบัน

(http://i.imgur.com/fZKoRXL.jpg)

บริเวณวัดร่มรื่น วัดมีอายุไม่มากนัก ปูชนียสถานต่างๆ สร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ จึงมีสภาพใหม่ ไฮไลท์ของวัดนี้คือพิพิธภัณฑ์พระธาตุบูรพาจารย์ เป็นอาคารปูน ๒ ชั้น สถาปัตยกรรมแบบชาวไทใหญ่ร่วมสมัย หลังคาซ้อนกัน ๔ ชั้น บริเวณจั่วมีพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระสังฆราชฯ ชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจาก ๕ ประเทศ พระอรหันตธาตุ และอัฐิธาตุพระอริยสงฆ์ทั่วประเทศไทย หลายๆ คนอาจจะไม่เข้าใจว่าธาตุต่างๆ เหล่านี้คืออะไร

(http://i.imgur.com/zbyCVHp.jpg)
อาคารพิพิธภัณฑ์พระธาตุบูรพาจารย์

(http://i.imgur.com/VPhLYfI.jpg)
พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

(http://i.imgur.com/opAJAmd.jpg)

(http://i.imgur.com/iVffyej.jpg)

พระบรมสารีริกธาตุ คือ ส่วนต่างๆ ของร่างกายพระพุทธเจ้า ทั้งกระดูก ผม เล็บ ฟัน ฯลฯ พระองค์ได้อธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิง เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท มีลักษณะแตกต่างจากคนทั่วไป ถ้าไม่สังเกตดีๆ จะดูคล้ายกับก้อนกรวดหรือเม็ดแก้วใสๆ ส่วนพระอรหันธาตุ และพระอัฐิธาตุพระอริยสงฆ์ จะเรียกว่าพระธาตุ มีลักษณะเช่นเดียวกับพระบรมสารีริกธาตุ ชาวพุทธเชื่อกันว่าพระอรหันต์หรือพระสงฆ์ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ และเมื่อละสังขาร กระดูกที่เหลือจากการชาปนกิจจะกลายเป็นพระธาตุ

(http://i.imgur.com/PnPUgsR.jpg)

(http://i.imgur.com/0aD6L4S.jpg)

(http://i.imgur.com/UvVZrwX.jpg)

(http://i.imgur.com/YKLaqSN.jpg)

เราลองไปสำรวจชั้นบนของพิพิธภัณฑ์กันบ้างนะคะ ประตูทางเข้าเป็นลายรดน้ำรูปเทวดา ตรงกลางเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุอยู่บนธรรมมาสศิลปะล้านนา รอบๆ เป็นตู้กระจกที่เก็บพระธาตุของพระอริยสงฆ์ทั่วประเทศทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ เช่น พระธาตุหลวงปู่สิม เจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัด พระธาตุหลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว เป็นต้น ส่วนชั้นล่างเป็นห้องจัดเก็บหนังสือธรรมะสำหรับพระภิกษุ สามเณร รวมไปถึงประชาชนทั่วไป

(http://i.imgur.com/mwlKnmy.jpg)
พระอุโบสถ

พระอุโบสถ สถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยหลวงปู่สิม ท่านสร้างตามกำลังทรัพย์ที่มี ไม่เคยเรี่ยไร หรือสร้างเครื่องรางของขลังเพื่อหาทุนทรัพย์ ถ้าหมดทุนก็หยุดสร้าง จนกระทั่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ รวมใช้เวลาสร้างถึง ๑๘ ปี พระอุโบสถมีขนาดความกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูง ๓๐ เมตร หลังคาซ้อนกัน ๓ ชั้น หน้าบันเป็นลายปูนปั้นรูปพรรณพฤกษาสีทองบนพื้นสีฟ้า หน้าบันด้านหลังเป็นลายปูนปั้นพุทธประวัติ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย

(http://i.imgur.com/em9qLlf.jpg)
สันติเจดีย์ ถอดแบบมาจากเจดีย์เหลียมเวียงกุมกาม

สันติเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นเจดีย์เหลี่ยมศิลปะละโว้ถอดแบบมาจากพระเจดีย์ของวัดเจดีย์เหลี่ยม ฐานล่างสุดเข้าไปด้านในได้ องค์เจดีย์เป็นเรือนธาตุลดหลั่นกันลงไป ๕ ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปางยืนด้านละ ๓ ซุ้ม รวมทั้งสิ้น ๖๐ ซุ้ม ชั้นที่๑ ประดิษฐานพระปางห้ามพระสมุทร ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานพระปางอุ้มบาตร ชั้นที่ ๓ ประดิษฐานพระปางห้ามญาติ ชั้นที่๔ ประดิษฐานพระปางรำพึง และชั้นที่ ๕ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน แต่ละมุมมีเจดีย์บริวารประจำอยู่ ส่วนยอดเป็นฉัตรสีทอง นอกจากนั้นเจดีย์ชั้นที่ ๒ ยังถูกใช้เป็นแท็งก์เก็บน้ำด้วยนะคะ นับว่าเป็นแนวคิดที่แปลกไม่เหมือนใครจริงๆ

การมากราบไหว้พระธาตุบูรพาจารย์ นอกจากเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองแล้วนั้น ยังให้ข้อคิดคติเตือนใจว่า แม้ว่าเราจะตายจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ถ้าตอนที่เรายังมีชีวิตอยู่ทำแต่คุณงามความดี มันจะคงอยู่ตลอดไปมิเสื่อมคลาย

เรื่องและภาพโดย เลดี้ ดาริกา  :5569fb93: