ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤษภาคม 18, 2024, 10:33:48 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดยางกวง : อดีตวัดร้าง อันทรงคุณค่า 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วัดยางกวง : อดีตวัดร้าง อันทรงคุณค่า  (อ่าน 3204 ครั้ง)
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:02:31 PM »


ระยะก่อนหน้าที่พระเจ้ากาวิละจะเข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้ 20-30 ปี เชียงใหม่กลายเป็นป่ารกชัฏ มีกลุ่มคนต่างๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยภายหลัง จากการกวาดต้อนเข้ามาของพระเจ้ากาวิละ ตามนโยบาย เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ที่เป็นการเอาคนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และเป็นแรงงานฟื้นฟูบูรณะเมืองเชียงใหม่อีกรอบ

ภายหลังการบูรณะให้เมืองกลับมารุ่งเรือง ผลัดเปลี่ยนเวลาไปตามยุคสมัย วัดวาอาราม หลายแห่งก็กลับมาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางแห่งด้วยกัน ที่ถูกทิ้งไว้รกร้าง เพราะขาดการดูแลไปในบางช่วงเวลา ก่อนต่อมาจะได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นแบบดั้งเดิม

อย่างวัดยางกวง ในตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในตัวอย่างนั้น


* DSCF3904.JPG (412.61 KB, 800x533 - ดู 810 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:03:15 PM »


วัดยางกวง หรือบางครั้งก็เรียกว่า วัดหน่างรั้ว ที่ตามตามพจนานุกรมล้านนาให้ความหมาย “หน่างรั้ว” ว่าเป็น รั้ว หรือแนวกัน ที่ทำให้คนหรือสัตว์เข้ามาติดแล้วออกไปไม่ได้ สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นในยุคต้นของราชวงศ์มังราย

จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพญามังรายทรงออกแสวงหาชัยภูมิเพื่อสร้างเมืองใหม่ พระองค์เสด็จออกจากเวียงกุมกาม และทรงแวะตั้งค่ายพักแรม ณ บริเวณแห่งนี้ โดยให้ทหารและเสนาอำมาตย์สร้างหน่างรั้ว กั้นรอบล้อมค่ายพักแรมไว้ เพื่อป้องกันภัยอันตรายทั้งมวล ในเวลาต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า วัดหน่างรั้ว แต่ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด ว่าวัดนี้สร้างในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงหลักฐานปรากฏในนิราศหริภุญชัย (พ.ศ. 2060)



* DSCF3898.JPG (483.14 KB, 800x533 - ดู 773 ครั้ง.)

* DSCF386591_4.JPG (400.73 KB, 800x533 - ดู 716 ครั้ง.)

* DSCF386591_3.JPG (421.18 KB, 800x533 - ดู 751 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 06, 2017, 02:09:55 PM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:04:02 PM »


หลังล้านนาถูกพม่ายึดครอง เป็นเวลา 200 กว่าปี ทำให้วัดวาอารามต่าง ๆ ในเมืองเชียงใหม่ถูกละทิ้งตกอยู่ในสภาพวัดร้างเป็นจำนวนมาก วัดยางกวงก็ถือเป็นหนึ่งในจำนวนวัดร้างทั้งหลายเหล่านั้น จวบจนปี พ.ศ. 2339 พระเจ้ากาวิละได้ยกทัพกลับมาขับไล่พม่าครั้งสุดท้ายออกจากล้านนา และได้กวาดต้อนเอาชนเผ่าไทยจากเขตเชียงรุ้งสิบสองปันนา และเชียงตุงให้มาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ หรือที่เรียกกันว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ซึ่งผู้คนทั้งหลายที่ถูกกวาดต้อนมาจากทางเหนือ มีกลุ่มหนึ่งเป็นชาวไทยเขินมาจากบ้านยางกวงเมืองเชียงตุงเข้ามาอยู่รอบๆ วัดหน่างรั้ง จากนั้นก็ได้ช่วยกัน ฟื้นฟูบูรณะวัดแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรือง และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น วัดยางกวง เหมือนในเชียงตุง เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพวกเขามาจากบ้านนายางกวงเชียงตุง และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดยางกวงแห่งนี้กับกลายเป็นวัดร้างอีกรอบ

ต่อมาปี พ.ศ. 2549 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี พระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค  7 เห็นว่าวัดยางกวง (ร้าง) แห่งนี้ยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ คือ พระเจดีย์ และพระพุทธรูป จึงเห็นสมควรทำการฟื้นฟู และบูรณะขึ้นใหม่


* DSCF3897.JPG (398.33 KB, 800x533 - ดู 787 ครั้ง.)

* DSCF3896.JPG (404.57 KB, 800x533 - ดู 779 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:04:38 PM »


ความน่าสนใจของวัดแห่งนี้อยู่ที่ องค์พระเจดีย์ประธาน อันมีรูปทรงแบบมณฑป 8 เหลี่ยม ที่มีเครื่องยอดเป็นทรงระฆัง 8 เหลี่ยม ตั้งแต่ส่วนฐานเขียงตอนล่าง ส่วนห้องมณฑปที่มีซุ้มจระเข้นำ ที่แต่เดิมเคยประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปูนปั้น (ยังคงเหลือหลักฐานอยู่บ้างบางซุ้ม) มีกรอบซุ้มประดับลวดลายปูนแน คล้ายกับของวัดเจดีย์ป่อง (เชียงโฉม) ส่วนมาลัยเถา องค์ระฆัง และเหนือขึ้นไปจนถึงส่วนปล้องไฉน ก็ล้วนสร้างเป็นแบบ 8 เหลี่ยมทั้งสิ้น จนสามารถกล่าวได้ว่า ลักษณะเด่นที่ปรากฏพบเห็นนี้ มีเพียงเจดีย์ที่วัดยางกวงแห่งเดียว


* DSCF3889.JPG (283.33 KB, 533x800 - ดู 764 ครั้ง.)

* DSCF3892.JPG (340.34 KB, 800x533 - ดู 693 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:06:25 PM »


ตามตำนานที่ได้ศึกษากันก็พอจะประมาณได้ว่า องค์พระเจดีย์ประธาน สร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ล้านนาเป็นเอกราชคือ ในระยะตั้งแต่ ปี พ.ศ. 1839-2100 หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในรัชกาลของพญาติโลกราช (พ.ศ. 1985 - 2030) และมีการบูรณะเจดีย์อีกครั้งในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 หรือราวต้นรัตนโกสินทร์ (ตรงกับสมัยพระเจ้ากาวิละ) ต่อมาได้ทำการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งได้รับเมตตาจากพระเดชพระคุณพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นประธานในการบูรณะจนแล้วเสร็จ


* DSCF386591_1.JPG (249.76 KB, 533x800 - ดู 715 ครั้ง.)

* DSCF386591_2.JPG (361.89 KB, 800x533 - ดู 710 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 06, 2017, 02:10:15 PM โดย ironear7 » บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:07:01 PM »


สิ่งที่น่าสนใจต่อมาคือ พระเจ้าแสนแส้ ที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยการหล่อเต็มองค์ โดยให้มีพุทธลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ โดยได้เริ่มลงมือหล่อตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2549 ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองเหลืองขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 9 เมตร โดยต้องใช้ทองเหลืองทั้งสิ้น 12,000 กิโลกรัมหรือประมาณ 12 ตัน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7,000,000 บาท ทั้งนี้ ก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสอันเป็นมิ่งมงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2549 - 2550 


* DSCF386591_5.JPG (433.75 KB, 800x533 - ดู 753 ครั้ง.)

* DSCF386591_8.JPG (276.42 KB, 533x800 - ดู 734 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:07:46 PM »


พระเจ้าแสนแซว่หรือแส้ เป็นชื่อแบบภาษาถิ่นเหนือ โดยแซว่ แปลว่า สลักหรือกลอนที่ใช้ยึดหรือเชื่อมวัสดุหลายๆชิ้นเข้าด้วยกัน ส่วนคำว่า แสน นั้นเป็นการบอกขนาด ปริมาณหรือยศแบบถิ่นเหนือในเชิงเปรียบเทียบ เช่น การเรียกพระพุทธรูปว่าพระเจ้าล้านตื้อ ก็แสดงว่าพระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่โตมากดังจำนวนหนึ่งล้าน หรือชื่ออาณาจักรล้านนาเอง ก็แสดงว่าเป็นอาณาจักรใหญ่เช่นกัน ขณะที่เอกสารจีนเรียกกษัตริย์เชียงใหม่ว่าเจ้าท้าวล้านนา แสดงว่าเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นใหญ่ระดับล้านนา ซึ่งเมื่อเทียบกับแต่ละพันนาของแคว้นสิบสองปัน(พัน)นาแล้วต้องถือว่ายิ่งใหญ่กว่ามาก ส่วนเจ้าเมืองในอาณาจักรล้านนาก็มียศลดหลั่นกันลงไป เช่น แสน หมื่น พัน เป็นต้น ส่วนเจ้าเมืองกำแพงเพชรในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ปรากฏพระนาม พระยาแสนสอยดาว ดังนั้น พระเจ้าแสนแซว่ อาจแปลได้ว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีการใช้สลักหรือตัวยึดส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันจำนวนมาก ซึ่งคงไม่ใช่แสนตัวเป็นแน่ เพียงแต่อุปมาว่ามากดังมีเป็นแสนเท่านั้น


* DSCF386591_7.JPG (246.53 KB, 800x533 - ดู 760 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:08:26 PM »


พระเจ้าแสนแซว่มีหลายขนาดตั้งแต่ใหญ่มากไปจนถึงขนาดเล็ก รวมทั้งสร้างจากวัสดุต่างๆกันไป สามารถพบได้ตามวัดต่างๆในเขตภาคเหนือหรืออาณาจักรล้านนาเดิม ส่วนใหญ่พบครบสมบูรณ์ทั้งองค์ เช่น พระเจ้าแสนแซว่ วัดศรีบุญเรือง เชียงใหม่ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ลำปาง แต่บางกรณีพบแต่เพียงบางส่วน เช่น เศียรพระเจ้าแสนแซว่องค์เดิมของวัดยางกวงนั้น ที่มีขนาดใหญ่ความสูงร่วมสองเมตร ที่ปัจจุบันได้ถูกนำไปจัดแสดงและจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเมื่อพิจารณาจากเศียรที่พบเพียงส่วนเดียวซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ก็สันนิษฐานได้ว่าหากพบชิ้นส่วนอื่นๆ มาประกอบได้ครบองค์คงเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่มาก โดยเศียรพระเจ้าแสนแซว่ที่พิพิธภัณฑฯ เชียงใหม่ สูงถึง 1.70 เมตร หากสมบูรณ์เต็มองค์ในลักษณะพระนั่งน่าจะสูงประมาณกว่า 6 เมตร และจากกรณีการพบเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพียงส่วนเดียวดังได้กล่าวไป ได้นำไปสู่ข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับจุดกำเนิด และพัฒนาการของพระเจ้าแสนแซว่ ว่าพระเจ้าแสนแซว่ที่พบเพียงเศียรด้านหน้าของวัดยางกวงนั้น อาจเป็นพระพุทธรูปในศิลปะสมัยหริภุญไชยที่รับวัฒนธรรมแบบทวารวดีก็เป็นได้ โดยมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งรับเอาลักษณะบางประการของพระพุทธรูปมาด้วย อย่างไรก็ดี วัสดุที่ใช้ก็ไม่เหมือนกัน คือ พระเจ้าแสนแซว่สร้างจากสำริด นอกจากนี้ยังสร้างให้ส่วนต่างๆ ประกอบกันแทนที่จะสร้างทีเดียวทั้งองค์ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ช่วยให้การหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ง่ายขึ้น รวมทั้งเคลื่อนย้ายได้ง่ายด้วย


* DSCF386591_6.JPG (311.7 KB, 533x800 - ดู 760 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Dockaturk
Hero Member
*****
กระทู้: 811



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: มกราคม 06, 2017, 02:08:50 PM »


เมื่อช่างหริภุญไชยได้คิดค้นการสร้างพระพุทธรูปแบบประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยสลักหรือหมุดขึ้น อาณาจักรล้านนาที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากหริภุญไชยก็ได้รับเอากลวิธีหล่อพระแบบแสนแซว่มาด้วย ทำให้มีการพบพระเจ้าแสนแซว่ในศิลปะแบบล้านนาที่มีขนาดเล็กลงมา จนกระทั่งกลายเป็นอัตลักษณ์ของศิลปะแบบล้านนาที่มีการสร้างพระพุทธรูปแบบถอดแยกออกได้ และประกอบเข้าใหม่ได้โดยมีแซว่เป็นตัวยึด และบางองค์มีการบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ภายในด้วย เช่น ผอบพระสารีริกธาตุ จนเกิดประเพณีประจำปีที่จะมีการถอดองค์พระเจ้าแสนแซว่เพื่อนำผอบพระบรมสารีริกธาตุออกให้ประชาชนสรงน้ำ



* DSCF386591_9.JPG (249.92 KB, 533x800 - ดู 673 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: วัดยางกวง : อดีตวัดร้าง อันทรงคุณค่า « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง