ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
พฤษภาคม 19, 2024, 02:28:54 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ การกระทำใดๆ  เพื่อที่จะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ หากพิจารณาแล้วว่า ไม่เกิดประโยชน์กับผู้เข้าชม  ก็รับสิทธิ์โดนแบนเหมือนกันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: เชิญร่วมทำบุญเข้าพรรษา ไหว้สา พระเก้าวัด เมืองลำพูน 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญร่วมทำบุญเข้าพรรษา ไหว้สา พระเก้าวัด เมืองลำพูน  (อ่าน 13447 ครั้ง)
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:30:44 AM »


สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ  จังหวัดลำพูน
มีความยินดี ขอเชิญชวนท่านร่วมโครงการ ทัวร์วัฒนธรรมเทศการงานบุญ


เข้าพรรษา ไหว้สาพระเก้าวัด เมืองลำพูน



* dd5k4r8m_10cnrf25hm_b.jpg (13.93 KB, 245x353 - ดู 2061 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:31:58 AM »


๑ วัดพระธาตุหริภุญชัย (พระธาตุแห่งแรกแห่งภาคเหนือ)

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส  ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี  ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


* CNEAOAOชNA.jpg (64.82 KB, 585x424 - ดู 2310 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2008, 10:40:41 AM โดย staff » บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:33:25 AM »


๒ . วัดมหาวัน (ต้นกำเนิด พระรอดดัง ของเมืองลำพูน)

วัดมหาวันลำพูนเป็นต้นกำเนิดของพระรอด ถ้าลองย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.1200 เศษเมื่อมีฤาษีสององค์นามว่า วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี ซึ่งทั้งสองเป็นพระสหายกันได้ปรึกษาหารือตกลงที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกวง เมื่อพระฤาษีทั้งสองสร้างเมืองแล้วเสร็จจึงได้ให้ควิยะบุรุษเป็นทูตไปอัญเชิญพระนางจามเทวีราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ขึ้นมาปกครองเมืองพร้อมด้วยข้าราชบริพาร พระสงฆ์ พราหมณาจรรย์ โหราราชบัณฑิต แพทย์และช่างต่างๆ อย่างละ 500

    พระนางจามเทวีทรงใช้เวลาเดินทางโดยล่องขึ้นมาตามแม่น้ำปิงนานกว่า 7 เดือน จากบันทึกจามเทวีวงศ์พงศาวดารเมืองระบุว่า เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาถึงนครหริภุญชัยได้ 7 วันก็ทรงประสูติพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ อนันตยศและมหันตยศ หลังจากนั้นวาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษีพร้อมด้วยประชาชนพลเมืองจึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีราชาภิเษกพระนางจามเทวีขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญชัยเมื่อพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นครองเมืองหริภุญชัยแล้ว พระองค์จึงได้ชักชวนอาณาประชาราษฏร์ให้ร่วมกันสร้างพระอารามใหญ่น้อยเพื่อถวายแด่พระรัตนตรัย ทั้งยังเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ที่มาจากกรุงละโว้ ซึ่งวัดต่างที่พระนางจามเทวีได้ทรงสร้างขึ้นมีอยู่ 5 วัดด้วยกัน

1.วัดอรัญญิกรัมมาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ปัจจุบันคือวัดดอนแก้วรวมกับวัดต้นแก้ว

2.วัดมูลการาม อยู่ทางทิศใต้ คือวัดกู่ละมัก (ลมักกัฏฐะ) ปัจจุบันคือวัดรมณียาราม

3.วัดอาพัทธาราม อยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันคือวัดพระคงฤาษี

4.วัดมหาลดาราม อยู่ทางทิศใต้ ปัจจุบันคือวัดประตูลี้

5.วัดมหาวนาราม อยู่ทางทิศตะวันตก ปัจจุบันคือวัดมหาวัน 


* ADHAI.jpg (46.36 KB, 219x300 - ดู 2147 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:34:14 AM »


๓. วัดจามเทวี เจดีย์ทวารวดีสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี  มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูนตั้งอยู่ถนนจามเทวี  ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองลำพูน  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่  ๑ งาน  ๕ ตารางวา โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดกู่กุด  ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด  ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง  ประกอบกับตำนานและนิยาย ซึ่งกล่าวกันว่า พระราชโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ  แต่จากการที่ได้พบศิลาจารึกวัดกู่กุด  บริเวณเชิงพระธาตุเจดีย์กู่กุด (ศิลาจารึกลำพูนหลักที่สอง ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย  จังหวัดลำพูน)  ศิลาจารึกหลักนี้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู่กุด  ที่ได้หักพังลงเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นในสมัยนั้น  ฉะนั้นลักษณะทางศิลปกรรมของพระเจดีย์ที่วัดกู่กุดนี้ น่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์  คือ  พุทธศตวรรษที่ ๑๗   และน่าจะไม่เก่าเกินรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิ์ หลังจากนั้นวัดนี้ก็คงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙   เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้อาราธนาครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาช่วยก่อสร้างโบสถ์  วิหาร  กุฏิ   ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด แล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นใหม่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐  มีชื่อว่า วัดจามเทวี จนถึงปัจจุบัน .


* CNOAaCO.jpg (66.84 KB, 512x384 - ดู 2933 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:34:52 AM »


๔.วัดพระยืน ศูนย์กลางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ สถานที่พบจารึกภาษาไทยหลักแรกในภาคเหนือ

ในดินแดนทั้งแคว้นลานนาไทย ศิลาจาตึกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏว่าใช้ตัวอักษรไทยของสุโขทัยนั้นก็คือ ศิลาจารึกของพระมหาสุมณะเถระที่ปรากฏการขุดพบ ณ บริเวณวัดพระยืนเมืองลำพูนแห่งนี้ เนื่องด้วยพระมหาสุมณะเถรองค์นั้นได้ไปจากเมืองสุโขทัย และบางทีท่านจะเป็นผู้นำเอาแบบของตัวอักษรไทยสุโขทัย เข้าไปใช้ในลานนาไทย นับแต่นั้นมาชาวเมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนและเมืองอื่น ๆ ในลานนาไทยได้ใช้ตัวอักษรไทยสุโขทัยชั่วระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเมื่อราว พ.ศ.2050 ชาวลานนาไทยได้เลิกใช้ตัวอักษรไทยสุโขทัยและกลับไปใช้ตัวอักษรของพวกไทยลื้อ คือไทยเมืองสิบสองปันนา จะเป็นด้วยเหตุใด ไม่ทราบแน่ บางทีอาจจะเป็นเพราะเหตุที่ตัวอักษรไทยเหมืองของพวกไทลื้อมีรูปลักษณะ กลมป้อมคล้ายตัวอักษรของพม่า ซึ่งภายหลังได้มีอำนาจครอบคลุมทั่วเขตแดนลานนาไทย จึงต้องเปลี่ยนแปลงการใช้ตัวอักษรให้กลมกลืนกับตัวอักษรของพม่าเป็นการเอาใจใส่และป้องกันภัยตัวก็เป็นได้"


* CNADHA.jpg (54.23 KB, 486x437 - ดู 2299 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:35:49 AM »


๕. วัดเกาะกลาง อุทกสีมา(เขาพระสุเมรุ)กลางสระอโนดาต แห่งแรกในประเทศไทย

โบราณสถาน วัดเกาะกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อคาว ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กม. เท่านั้น ถือเป็นวัดที่มีการขุดพบซากโบราณสถานเก่าแก่ที่สมบูรณ์มากที่สุดใน จ.ลำพูน

ด้านทิศเหนือ มีเจดีย์ที่มีลักษณะที่โดดเด่น โดยเป็นลักษณะของเรือนธาตุ มีเสากลางรองรับ ซึ่งนับว่า เป็นแบบที่ยังไม่เคยพบในโบราณสถานแหล่งใดของประเทศไทยมาก่อน โดยลักษณะของเจดีย์ ตั้งอยู่กลางน้ำ มีฐานลานประทักษิณกลม เป็นสถาปัตยกรรมทวาราวดี พุทธศตวรรษที่ 10-14 ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ลายปูนปั้น มีความงดงาม สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นฝีมือของช่างหลวง ในยุคทองของอาณาจักรล้านนา



* CNaODHAO.jpg (80.63 KB, 563x422 - ดู 2772 ครั้ง.)

* dd5k4r8m_20hmcrhncz_b.jpg (25.58 KB, 300x171 - ดู 1977 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:36:38 AM »


๖.วัดรมณียาราม (กู่ละมัก) จุดเสี่ยงธนูของพระนางจามเทวี 

ประวัติวัดรมณียาราม (กู่ละมัก) ตามตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวว่า…ในปี พ.ศ. ๑๒๐๖ พระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นเรือมาจากเมืองละโว้มาตามแม่น้ำปิงตามคำเชิญของสุเทวฤาษีและสุกกทันตฤาษี เพื่อขึ้นครองเมืองหริภุญชัย ระหว่างที่พระนางเสด็จขึ้นมาตามแม่น้ำปิงได้ผ่านสถานที่ต่างๆ พอมาถึงท่าน้ำชื่อว่า เจียงตอง (ปัจจุบันอาจเป็นอำเภอจอมทอง) พระนางจึงหยุดพักลี่พล ณ ที่นั่น และได้ตรัสกับนายธนูผู้ขมังเวทย์เป็นผู้จัดการคาดคะเน ยิงธนูหาภูมิประเทศที่วิเศษที่จะสร้างวัด โดยที่พระนางได้ตั้งจิตอธิษฐานว่าหากลูกธนูไปตก ณ. ที่แห่งใด จะให้สร้างองค์มหาเจดีย์ และวัด ณ.ที่แห่งนั้น

ดังนั้น นายธนูผู้มีพระเวทย์ก็ยิงลูกธนูหันหัวศรมุ่งตรงมาทางทิศเหนือ ๓ ครั้ง เป็นที่ประหลาดอัศจรรย์ในเมื่อลูกธนูได้พุ่งขึ้นไปบนฟ้าทั้ง ๓ ดอกจากจุดที่ยิงจากเจียงตอง ลูกธนูพุ่งมาตามแรงอธิษฐานของพระนางเจ้า แล้วตกลงมาทั้งสามครั้ง ซึ่งนายธนูได้ติดตามค้นหาลูกธนูที่ยิงมานั้นก็ได้พบว่าตกมายัง ณ. จุดที่สร้างองค์เจดีย์กู่ละมัก พระนางจึงโปรดฯให้มีการสร้างมหาเจดีย์ขึ้นบริเวณดังกล่าวพร้อมกับรับสั่งให้ช่างเอาธนูทั้ง๓ ดอกนั้นบรรจุลงไปบนองค์พระเจดีย์นั้นด้วย


* CNAAOAOAOA.jpg (29.26 KB, 285x380 - ดู 2094 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:37:13 AM »


๗. วัดบ้านก้อง หอไตรกลางสระน้ำ ณ ที่ซึ่งแม่น้ำสามสายบรรจบกัน (ปิง- กวง-ทา)



* CNบeOeI.jpg (77.27 KB, 420x480 - ดู 2268 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:37:59 AM »


๘. วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ศูนย์รวมสล่าจาวยอง บนแผ่นดินเก่าสุวรรณภูมิ

วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ๑๐๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน   


ประวัติพระเจ้าตาเขียว
พุทธสถานล้านนาไทย (๓)
เรียบเรียงโดย.. บัณฑิต ศาลาวัด 

ตามตำนานภาคเหนือ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ตำนานพระเจ้าห้าร้อยชาติ ตำนานท้องถิ่น ได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อองค์สมเด็จพระสัม
มาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จประกาศพระพุทธศาสนาสั่งสอนไปยังทุกหมู่บ้าน พร้อมด้วยสาวก ทุกๆ แห่งที่ผ่านไปได้ประทานรอยพระพุทธ
บาท พระเกศาธาตุ และได้ตรัสพยากรณ์ สถานที่นั้นๆ ไปด้วย จนเสด็จมาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ทรงพยากรณ์ว่า ภายหน้าจะเป็นนครที่
รุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนามาก มีนามว่า "หริภุญชัยนคร" ณ ที่พระพุทธองค์ประทับพักมี ลัวะชื่อ เม็งคบุตร ได้ชวนผู้คนแถวนั้น
มาฟังธรรม และรู้ถึงอานิสงส์แห่งการสร้างพระพุทธรูป จนเข้าถึงพระรัตนตรัยกันโดยถ้วนหน้า พระอินทร์ทูลขอพระเกศาธาตุ พระองค์
ประทานให้แล้วเสด็จต่อไป เม็งคบุตรพร้อมหมู่คนท้องถิ่น ได้พากันขุดอุโมงค์ นำพระเกศาธาตุใส่ผอบทองคำ และใส่ในโกฎิเงินอีก
ชั้น พร้อมทั้งของมีค่ามากมาย บรรจุลงในอุโมงค์แล้วปิดด้วยอิฐขนาดใหญ่

ต่อมาพญานาคได้นำศิลาหินใหญ่จากบาดาลมาปิดทับอุโมงค์อีกชั้นหนึ่ง ( ณ วัดบ้านเหล่าพระเจ้าตาเขียว ต.บ้านเรือน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน)



* CNบeOaEAeO.jpg (74.63 KB, 350x466 - ดู 2248 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:38:49 AM »


๙ . วันแสนข้าวห่อ   จุดสั่งสมเสบียงอาหารเลี้ยงชาวเมือง หริภุญไชย

สู่โศกนาฎกรรมเรือนจำและพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของภาคเหนือ 

ศิลาจารึก
            ศิลาจารึกที่พบในเขตจังหวัดลำพูน สามารถแบ่งออกได้เป็นสองระยะคือ
                -  ศิลาจารึกเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗
                -  ศิลาจารึกเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา
            ศิลาจารึก เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ มีอยู่แปดหลัก จารึกด้วยอักษรมอญโบราณ เป็นภาษามอญโบราณก็มี จารึกเป็นภาษาบาลีแล้ว แปลเป็นภาษามอญก็มี หรือจารึกทั้งภาษามอญ และภาษาบาลีรวมกันไปก็มี
            กลุ่มศิลาจารึกทั้งสองกลุ่มดังกล่าว แสดงให้เห็นลักษณะของกลุ่มชนที่ใช้อักษรภาษามอญกลุ่มหนึ่ง และกลุ่มชนที่ใช้อักษรไทย ภาษาไทยอีกกลุ่มหนึ่ง
            หลักฐานด้านศิลาจารึกระหว่างสองกลุ่ม มีช่องว่างของเวลาที่ยาวมากตกประมาณ ๓๐๐ ปี หากนับตั้งแต่สมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ มาถึงสมัยพระเจ้ากือนา
            ศิลาจารึกกลุ่มอักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณ และภาษาบาลี พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ศิลาจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (ลพ.๑) ลักษณะศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีแดงรูปใบสีมา ขุดพบที่วัดดอนแก้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ห่างออกไปประมาณ ๒๕๐ เมตร
            เรื่องจารึก กล่าวถึงกษัตริย์ผู้ครองหริภุญชัย พระนามว่า พระเจ้าสววาธิสิทธิ พระองค์ทรงสถาปนาวัดเชตวัน ทรงสร้างกุฏิ เสนาสนะ ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีลอยุ่พำนัก ทรงให้จารคัมภีร์พระไตรปิฎกขึ้นหลายผูก ทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญนี้แก่  สรรพสัตว์จงพ้นทุกข์ และให้ประสบสุขด้วยอำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยนั้น
            ความที่จารึกต่อมา กล่าวถึงการสร้างเจดีย์สามองค์ของพระองค์พระชายา และโอรส ซึ่งที่ตั้งของเจดีย์ทั้งสามเรียงกันจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และในจารึกยังกล่าวถึงการทรงผนวชของพระองค์ และโอรสทั้สอง แสดงให้เห็นขัตติยราชประเพณีการผนวชของกษัตริย์ในคติพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท   



* CNaEeOEeI.jpg (23.45 KB, 273x180 - ดู 2169 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
staff
Sr. Member
****
กระทู้: 451


สวัสดีเจ้า


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 03, 2008, 10:40:00 AM »


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ถ.อินทยงยศ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน

โทรศัพท์ ๐๕๓  ๕๑๑๑๘๖ / โทรสาร ๐๕๓ ๕๓๐ ๕๓๖   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: เชิญร่วมทำบุญเข้าพรรษา ไหว้สา พระเก้าวัด เมืองลำพูน « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.017 วินาที กับ 19 คำสั่ง