ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มิถุนายน 18, 2024, 07:51:55 PM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: อารามในยุคล้านนารุ่งเรือง @ วัดพันอ้น 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อารามในยุคล้านนารุ่งเรือง @ วัดพันอ้น  (อ่าน 1254 ครั้ง)
Traveller Freedom
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2015, 04:39:22 PM »


อารามในยุคล้านนารุ่งเรือง @ วัดพันอ้น

สถานที่ตั้ง : ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : 18.787914, 98.991062

    วัดพันอ้น สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2044 ในรัชสมัยของพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 13 ในราชวงศ์มังราย ซึ่งตรงกับแผ่นดินกรุงศรีอยุธยายุคที่ 2 ในแผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ของราชวงศ์สุพรรณภูมิ ส่วนความหมายของชื่อวัดนั้น คำว่า “พันอ้น” สันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อของผู้สร้างวัดที่ถวายไว้กับพระพุทธศาสนา ผู้สร้างมียศเป็นทหาร หรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์เป็น “นายพัน” เพราะคนในสมัยนั้นเมื่อตนเองประสบความสำเร็จในชีวิตมักจะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ และนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อวัดที่ตนเองสร้างขึ้น ซึ่งชื่อของนายทหารใจบุญท่านนี้ มีชื่อว่า “อ้น”  เมื่อสร้างวัดแห่งนี้เสร็จจึงนำ ยศ+ชื่อ กลายเป็นที่มาของชื่อวัดว่า “วัดพ้นอ้น” ตามบรรดาศักดิ์และชื่อของท่าน

    ซึ่งปรากฏมีวัดจำนวนมากในตัวเมืองเชียงใหม่ที่นิยมใช้ชื่อผู้สร้างวัดเป็นชื่อของวัดอยู่ด้วยอีกหลายแห่ง เช่น
    วัดหมื่นสาร เป็นวัดที่ “หมื่น” หนังสือวิมลกิตติสิงหลมนตรีสังฆการี ซึ่งมีหน้าที่ส่งข่าว “สาร” บ้านเมืองในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช ท่านได้สร้างวัดนี้ในราวปี พ.ศ. 1985 – พ.ศ. 2024 ท่านได้สร้างวัดนี้แล้ว วัดนี้จึงปรากฏชื่อว่า “วัดหมื่นสาร”
    วัดหมื่นล้าน เป็นวัดที่ “หมื่น” ดังนคร หรือ หมื่นโลกสามล้าน ทหารเอกของพระเจ้าติโลกราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1985 จึงได้ชื่อว่า “วัดหมื่นล้าน”
 
    บริเวณที่ตั้งวัดพันอ้นนั้น แต่เดิมมีวัดอยู่ 2 วัด คือ วัดพันอ้น กับวัดเจดีย์ควัน เป็นวัดเล็กๆ อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพันอ้น        สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน และก็เป็นวัดที่มีขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ซึ่งในยุคที่รุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนานั้น ส่งผลต่อความรุ่งโรจน์ทางศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นมากมายในสมัยพระเมืองแก้วนี้ ต่อมาทั้งสองวัดได้รวมเป็นวัดเดียวกันแล้วนำชื่อวัดทั้งสองมาฟิวชั่นกันเป็นชื่อ “วัดเจดีย์ควันพันอ้น” แต่คนทั่วไปมักจะเรียกสั้นๆ ว่า “วัดพันอ้น”

    จนถึงปี พ.ศ. 2474 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินและสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 คณะสงฆ์สมัยนั้น คือ หลวงพ่อพระอภัยสารทะ เป็นเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นว่าวัดพันอ้นเป็นศูนย์กลางเหมาะสมที่จะตั้งเป็นสำนักเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่ แต่พื้นที่ไม่กว้างขวางและค่อนข้างคับแคบ จึงได้ขยายบริเวณวัดออกไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ของวัดเจดีย์ควันซึ่งตอนนั้นเป็นวัดร้าง ส่วนเจดีย์ควันปัจจุบันนี้สภาพของเจดีย์ไม่ปรากฏให้เห็น เพราะในปี พ.ศ. 2498 หลวงพ่อพระครูศรีปริยัตยานุรักษ์ ได้รื้อเจดีย์ออกแล้วสร้างศาลาการเปรียญแทน ซึ่งปัจจุบันปรากฏให้เห็นเพียงหลุมเจดีย์เท่านั้น

by Traveller Freedom


* CNNIe_1.JPG (379.25 KB, 667x1000 - ดู 271 ครั้ง.)

* CNNIe_5.JPG (282.62 KB, 667x1000 - ดู 264 ครั้ง.)

* CNNIe_6.JPG (407.14 KB, 750x1000 - ดู 199 ครั้ง.)

* CNNIe_9.JPG (330.11 KB, 750x1000 - ดู 229 ครั้ง.)

* CNNIe_11.JPG (503.94 KB, 1000x681 - ดู 231 ครั้ง.)

* CNNIe_12.JPG (381.83 KB, 750x1000 - ดู 204 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: อารามในยุคล้านนารุ่งเรือง @ วัดพันอ้น « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 19 คำสั่ง