ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
มีนาคม 29, 2024, 01:42:40 AM
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: ประกาศ ปัมพ์โพสต์ตอบแต่ emoticon ต่อเนื่อง เพื่อจะให้กระทู้ตัวเองมาอยู่อันดับต้นๆ ประจำ รับสิทธิ์โดนแบน 90 วันครับ


จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง  (อ่าน 4261 ครั้ง)
Traveller Freedom
Sr. Member
****
กระทู้: 416



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 03:37:02 PM »


อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 157 หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : 18.879547, 99.124543


    วัดศรีมุงเมือง หรือวัดลวงเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1944 โดยพญาสามฝั่งแกน กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาในสมัยนั้น ทรงขึ้นครองเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระเจ้าแสนเมืองมา วัดศรีมุงเมืองได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ตามหลักฐานที่แสดงในใบวิสุงคามสีมา ซึ่งลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ วัดศรีมุงเมืองเป็นวัดประจำหมู่บ้านลวงเหนือ อันเป็นชุมชนของชาวไทลื้อที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ชาวไทลื้อมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงมีการทะนุบำรุงรักษาวัดศรีมุงเมือง ณ บ้านลวงเหนือแห่งนี้มาเป็นอย่างดี

    วัดศรีมุงเมือง มีอาคารเสนาสนะประกอบไปด้วย อุโบสถ วิหาร กุฏิสงฆ์ 8 หลัง หอฉัน ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาบาตร และสถานอบรมเด็กก่อนวัยเรียน ปูชนียวัตถุในวัด ประกอบไปด้วย พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิเพชร 1 องค์ พระประธานในวิหาร 5 องค์ พระประธานในอุโบสถ 3 องค์ ศิลปะไทลื้อ พระเจดีย์ประธาน 1 องค์ และเจดีย์ราย 8 องค์

    วัดศรีมุงเมือง เป็นวัดประจำหมู่บ้านลวงเหนือ ชุมชนไทลื้อแห่งนี้ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูด และมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้มีใจพร้อมเพรียงกันทะนุบำรุงรักษาวัดเป็นอย่างดี จึงทำให้วัดศรีมุงเมืองยังคงความสวยงาม โดยเฉพาะปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ เจดีย์ศิลปะแบบพม่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1944 ซึ่งนับเป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ นับถึงปีปัจจุบันมีอายุถึง 615 ปีแล้ว (พ.ศ. 2559) แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาวจนทำให้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบูรณปฏิสังขรณ์เพื่อให้เจดีย์มีความสวยงามสง่า เป็นธงชัยแห่งความเรืองรองของพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านลวงเหนือและพุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่สืบไป

    อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีมุงเมืองที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ “ครูบาคำมูล อภิวํโส” หรือครูบาอภิชัย คำมูล ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ในยุคสมัยโบราณก่อนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จะขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ ประวัติของท่านไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านเกิดเมื่อใด ท่านเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด และท่านได้ทำการบูรณะพระธาตุดอยสะเก็ด ท่านเป็นเจ้าอาวาสที่เป็นมหานิกายรูปสุดท้ายของวัดศรีมุงเมือง เพราะต่อมาวัดศรีมุงเมืองได้แปรญัติเป็นวัดในนิกายธรรมยุต วัดแรกของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระนพีสีพิศาลคุณ เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ครูบาคำมูล ได้ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ. 2464

    พระธาตุของครูบาคำมูล อภิวํโส ได้ประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์รายของพระธาตุวัดศรีมุงเมือง โดยไม่มีผู้ใดสนใจมาเป็นเวลากว่าร้อยปี จนเมื่อพระเจดีย์ได้หักลงมาจึงได้ค้นพบพระธาตุของท่าน พร้อมกับแผ่นทองจารึกชื่อของท่าน

by Traveller Freedom


* DSC_1005.JPG (354.27 KB, 1000x667 - ดู 373 ครั้ง.)

* DSC_1021.JPG (385.28 KB, 667x1000 - ดู 255 ครั้ง.)

* DSC_1072.JPG (261.11 KB, 667x1000 - ดู 267 ครั้ง.)

* DSC_1083.JPG (378.08 KB, 1000x667 - ดู 357 ครั้ง.)

* DSC_1114.JPG (287.6 KB, 667x1000 - ดู 277 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2018, 09:21:36 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Traveller Freedom
Sr. Member
****
กระทู้: 416



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 03:40:25 PM »


อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 157 หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : 18.879547, 99.124543

    เมื่อหลายปีก่อน ได้มีความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านลวงเหนือกับกรรมการวัด ในเรื่องของการบูรณะองค์เจดีย์เก่าแก่ ซึ่งพระสมุห์อรรถสิทธิ์ ชินวังโส เจ้าอาวาสวัดศรีมุงเมือง และผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ได้ร่วมกันทำความเข้าใจกับจำนวนกว่าสองคนคน ที่เดินทางมารวมตัวกันที่วัดศรีมุงเมือง เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกัน คือชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการบูรณะองค์เจดีย์ภายในวัดศรีมุงเมืองที่มีอายุมากกว่าหกร้อยปี ขณะที่กรรมการวัดอีกกลุ่มที่มีกรรมการวัดศรีมุงเมืองดูแลรับผิดชอบการจัดจ้างช่างมาบูรณะ ให้การสนับสนุนการบูรณะและนำช่างมาดำเนินการ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากกรมศิลปากร โดยช่างได้ลงมือทุบองค์เจดีย์ไปบางส่วนแล้ว ทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจ

    ทั้งนี้ พระสมุห์อรรถสิทธิ์กล่าวว่า การที่วัดศรีมุงเมืองจะให้มีการบูรณะเจดีย์ เพราะเห็นว่าองค์เจดีย์ชำรุดเสียหายไปมาก ประกอบกับฝนตกลงมา ทำให้องค์พระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่ทิศชำรุดจนเหลือเพียงทิศใต้ จึงมอบหมายให้กรรมการวัดดำเนินการจัดทำโครงการบูรณะพระเจดีย์วัดศรีมุงเมือง แต่พอลงมือบูรณะเริ่มมีปัญหาต้องให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาชี้แจง

    ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 เป็นตัวแทนกลุ่มชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกล่าวว่า การบูรณะเจดีย์วัดศรีมุงเมืองที่มีความเก่าแก่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ตามข้อเท็จจริงควรที่จะบูรณะ แต่ไม่จำเป็นต้องบูรณะทั้งองค์ เพราะต้องการรักษาส่วนที่ดีและเก่าแก่ไว้ ประกอบกับการใช้เงินงบประมาณถึง 2 ล้านบาท ถือว่าใช้เงินจำนวนมากเกินไป เกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมา จึงต้องการให้ทางวัดและกรมศิลปากรพิจารณาให้ดี ก่อนที่จะให้บูรณะด้วยการทุบวัตถุโบราณทิ้งไป จนไม่คงเหลือสภาพเดิมเลย จึงฝากไว้ตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย และที่สำคัญช่างได้ลงมือทุบองค์เจดีย์ไปแล้ว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร ถือเป็นการทำลายวัตถุโบราณ อย่างไรก็ตาม ทุกคนเป็นห่วงและต้องการรักษาวัดที่นับถือศรัทธาของพวกเขาไว้

    ด้านผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กล่าวว่า ขอยอมรับผิด เนื่องจากปัญหาในเรื่องเอกสารที่อนุญาตให้บูรณะซ่อมแซมเจดีย์วัดศรีมุงเมืองมีความล่าช้า เป็นเพราะเอกสารที่ผิดแบบ ต้องนำหนังสือเสนอกรมศิลปากรถึงสองครั้ง ขณะนี้กรมศิลปากรได้อนุมัติให้บูรณะแล้ว แต่หากชาวบ้านเป็นห่วงว่าจะบูรณะผิดแบบเดิม ทางสำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ได้จัดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาควบคุมการทำงานของช่างที่วัดทุกขั้นตอน และจะทำให้เหมือนเดิมทุกอย่าง

    สำหรับชาวบ้านที่ร่วมประชุมที่วัดศรีมุงเมือง หลังจากที่ฟังแนวคิดของแต่ละฝ่าย และฟังผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ชี้แจงแล้ว ชาวบ้านก็ยังไม่มีข้อยุติ ชาวบ้านไม่เห็นด้วยและยังไม่พอใจ โดยเฉพาะยังติดใจสงสัยที่กรรมการวัดรีบเร่งบูรณะ ก่อนที่กรมศิลปากรอนุญาต คือให้ช่างลงมือดำเนินการทุบไปแล้ว ขณะที่หนังสือการอนุมัติให้บูรณะออกมา และที่สำคัญคือ ไม่พอใจในการใช้งบประมาณจำนวนสองล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ไม่มีการชี้แจงให้ชาวบ้านทราบแต่อย่างใด..

by Traveller Freedom


* DSC_1104.JPG (401.84 KB, 1000x619 - ดู 275 ครั้ง.)

* DSC_1111.JPG (380.65 KB, 667x1000 - ดู 317 ครั้ง.)

* DSC_1118.JPG (354.13 KB, 1000x667 - ดู 355 ครั้ง.)

* DSC_1125.JPG (316.85 KB, 667x1000 - ดู 296 ครั้ง.)

* DSC_1415.JPG (366.55 KB, 667x1000 - ดู 337 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 20, 2018, 09:22:50 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
Traveller Freedom
Sr. Member
****
กระทู้: 416



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 03:43:40 PM »


อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง (Page 3)

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 157 หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : 18.879547, 99.124543

    อันเนื่องมาจากการไปเก็บภาพงาน “อยู่ดีกินหวาน ไหว้เจดีย์ม่านวิหารลื้อครั้งที่ 2” ที่จัดขึ้น ณ วัดศรีมุงเมือง ภายในชุมชนบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ได้พบกับวัดที่มีความเงียบสงบ อุดมไปด้วยความงดงามของศิลปะไทลื้อ ที่แม้ว่าวัดแห่งนี้จะผ่านกาลมาอย่างโชกโชน แต่ก็ได้รับการบูรณะด้วยความตั้งใจดีสืบเนื่องต่อกันมา ด้วยจิตรักษาและศรัทธาของชุมชนชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ

    วัดศรีมุงเมือง มีความโดดเด่นตั้งแต่แรกเห็น ด้วยสิงห์คู่ขนาดยักษ์ที่ตั้งตระหง่านเฝ้าหน้าประตูทางเข้า เมื่อเข้ามาในบริเวณวัดจะพบกับ “วิหารลื้อ” ไฮไลท์ของวัดศรีมุงเมือง เป็นวิหารสถาปัตยกรรมทรงไทลื้อประยุกต์ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย ด้านหน้าจะมีซุ้มประตูขนาดเล็กไว้ให้ลอดผ่านเพื่อเข้าตัววิหาร ก่อนเข้าวิหารอย่างเป็นทางการจะต้องถอดรองเท้าก่อน ซึ่งแม้ใครๆ ก็รู้ แต่ที่ต้องบอกเพราะป้ายที่วัดนี้น่าสนใจมาก เขียนกำกับไว้เป็นภาษาเหนือด้วยฟอนต์น่ารักๆ ว่า “ถอดเกิบ”

    เมื่อถอดเกิบเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเข้าไปในวิหาร จะพบกับรูปปั้นของเทวาเฝ้าทางเข้าวิหารขนาบข้างซ้ายขวา ที่โดดเด่นคือเป็นเทพไฮเทคถือ “ไอแพด” คอยเช็คประวัติของผู้เข้าวิหาร ผมจึงเรียกรูปปั้นสุดโมเดิร์นนี้ว่า “เทวาปางไอที”

    ในที่สุดก็ย่างกายเข้ามาภายในวิหาร วิหารนี้ไม่มีประตูทางเข้า ใช้โซ่เหล็กสีทองห้อยลงมาเป็นม่านแทนประตู เก๋ได้อีกอะ ความทันสมัยของวัดศรีมุงเมืองยังไม่หมดเท่านี้ มีป้ายบอกให้ “เช็คอินที่วัดศรีมุงเมือง รับทันทีพระผง พระสีวลีต่ออายุ พร้อมเลี่ยมสร้อยคอ ห้อยคอ 1 องค์ ที่เจ้าหน้าที่ของวัด” แล้วไม่ต้องกลัวว่าเน็ตหมดหรือไม่มีเน็ตใช้ด้วยนะ เพราะป้ายมีบอกรหัส wifi มาให้ด้วยเลย ทันสมัยปะล่ะ

    เมื่อเข้ามาในวิหารแล้วจะเห็นได้เลยว่า ภายนอกว่างามงดแล้ว แต่ภายในงดงามยิ่งกว่า เมื่อผ่านประตูโซ่เข้ามาแล้ว แรกเห็นจะพบกับ “ขันชะตา” ด้านซ้ายของวิหารจะมีโต๊ะไว้สำหรับให้พุทธศาสนิกชนคนทำบุญ ร่วมบริจาคปัจจัยต่างๆ ตามจิตศรัทธาและกำลังทรัพย์ มีทั้ง เป็นเจ้าภาพสังฆทาน ชุดละ 300 บาท เพียงเขียนชื่อ นำปัจจัยใส่ซอง จากนั้นนำใส่ตู้ด้วยตนเอง นำถวายพระได้เลย มีวงเล็บไว้ด้วยว่า “ไม่มีการนำมาวน” มีป้ายให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ติดต่อ เผื่อว่าอยากทำบุญแต่มาแล้วไม่พบใคร สามารถโทรตามได้เลยทันที

by Traveller Freedom


* EAOAO_1.JPG (395.95 KB, 667x1000 - ดู 385 ครั้ง.)

* EAOAO_2.JPG (337.79 KB, 1000x667 - ดู 346 ครั้ง.)

* EAOAO_3.JPG (370.92 KB, 1000x666 - ดู 262 ครั้ง.)

* EAOAO_4.JPG (342.56 KB, 1000x667 - ดู 264 ครั้ง.)

* EAOAO_5.JPG (363.24 KB, 667x1000 - ดู 334 ครั้ง.)

* EAOAO_6.JPG (310.35 KB, 667x1000 - ดู 287 ครั้ง.)

* EAOAO_7.JPG (435.87 KB, 1000x667 - ดู 262 ครั้ง.)

* EAOAO_8.JPG (332.59 KB, 738x1000 - ดู 285 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2016, 08:20:44 PM โดย Traveller Freedom » บันทึกการเข้า
Traveller Freedom
Sr. Member
****
กระทู้: 416



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 03:46:07 PM »


อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง (Page 4)

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 157 หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : 18.879547, 99.124543

    ถัดจากจุดถวายสังฆทานเพียงนิดเดียว จะมีโต๊ะที่เต็มไปด้วยบาตร สำหรับทำบุญใส่บาตรพระอุปคุต ในวิหารมีเสาค้ำยันขนาดใหญ่ถึง 16 ต้น ประดับด้วยตุงนักษัตรหลากสี แลดูงดงามสไตล์ล้านนา กลางวิหารประดับด้วยโคมไฟระย้าขนาดใหญ่ เส้นนำสายตานำไปให้พบกับ “พระมหาจักรพรรดิ” เป็นองค์พระประธานขนาดใหญ่ศิลปะพม่าบนฐานสูง แสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่งดงามและอลังการไปพร้อมๆ กัน เบื้องล่างมีคาถาสำหรับบูชาองค์พระมหาจักรพรรดิไว้พร้อมสำหรับพุทธศาสนิกชน

    ด้านซ้ายของพระประธานมีธรรมาสน์ขนาดเล็ก ผมแลเห็นรูปหล่อรูปเหมือนของพระภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ภายในตู้กระจกใส เดินเข้าไปใกล้ๆ มีป้ายบอกว่าท่านคือ ครูบาอภิชัย คำมูล อดีตเจ้าอาวาสที่มีความสำคัญมากที่สุดรูปหนึ่งของวัดศรีมุงเมือง เดินอ้อมไปด้านหลังของวิหาร ที่เป็นกำแพงกั้นองค์พระประธานอีกทีหนึ่งนั้น มีรูปหล่อ พร้อมรอยประทับ “พระหัตถ์และพระบาท” ของครูบาอภิชัย คำมูล เมื่อเดินวนสำรวจจนจบครบรอบแล้ว ก็เดินออกจากวิหารเพื่อเดินไปสำรวจด้านหลังของวิหารต่อ

    ด้านหลังวิหารเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์ที่มีนามว่า “พระธาตุเจดีย์นพีสีพิศาลมงคล” ประดิษฐานภายในรั้วเหล็กล้อมหนึ่งชั้น และกำแพงคอนกรีตอีกหนึ่งชั้น ชั้นที่สามารถเข้าไปได้ คือการเดินลอดผ่านซุ้มกำแพงคอนกรีตที่มีอยู่ทั้ง 4 ทิศ แต่ละทิศเมื่อเดินเข้าไปแล้ว จะมีพระบรมธาตุและคาถาบูชาประจำทิศนั้นๆ ดังนี้
    ทิศเหนือ ประดิษฐานพระกัสสะปะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทิศใต้ ประดิษฐานพระกะกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทิศตะวันออก ประดิษฐานพระโคตะมะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทิศตะวันตก ประดิษฐานพระโกนาคะมะนะสัมมาสัมพุทธเข้า

    รอบๆ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ด้านนอกรั้วเล็กนั้นจะมีให้ปิดทองพระธาตุเจดีย์ 12 ปีนักษัตรประจำปีเกิด จากเจดีย์หลังวิหารเดินย้อนกลับมาด้านหน้าวิหาร จะพบกับ “ต้นอโศกระย้าลังกา” ที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงปลูกไว้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เมื่อครั้งเสด็จมาเป็นประธานในการทำบุญถวายผ้ากฐินสามัคคี ณ วัดศรีมุงเมือง ประจำปี 2554

    จากนั้นเข้าไปเดินชม “หอธรรมกลางน้ำบูรพาจารย์” ที่ตัวอาคารตั้งอยู่กลางน้ำจริงๆ มีสะพานพญานาคสีขาวเชื่อมต่อไป แต่เว้นช่องว่างไว้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้เป็นหอธรรมกลางน้ำโดยสมบูรณ์ ภายในมี พระเจ้าคำดวง พระอุปคุตมหาสมบัติทันใจ และอัฐิธาตุบูรพาจารย์ ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล

by Traveller Freedom


* CNEAO_1.JPG (322.05 KB, 1000x641 - ดู 316 ครั้ง.)

* CNEAO_2.JPG (345.88 KB, 1000x667 - ดู 250 ครั้ง.)

* CNEAO_3.JPG (447.65 KB, 667x1000 - ดู 251 ครั้ง.)

* CNEAO_4.JPG (330.83 KB, 667x1000 - ดู 239 ครั้ง.)

* CNEAO_5.JPG (316.48 KB, 667x1000 - ดู 242 ครั้ง.)

* CNEAO_6.JPG (246.79 KB, 1000x667 - ดู 324 ครั้ง.)

* CNEAO_7.JPG (338.3 KB, 1000x667 - ดู 237 ครั้ง.)

* CNEAO_8.JPG (273.74 KB, 1000x667 - ดู 357 ครั้ง.)

* CNEAO_9.JPG (358.16 KB, 1000x609 - ดู 311 ครั้ง.)

* CNEAO_10.JPG (210.41 KB, 1000x637 - ดู 221 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Traveller Freedom
Sr. Member
****
กระทู้: 416



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 03:48:24 PM »


อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง (Page 5)

สถานที่ตั้ง : เลขที่ 157 หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
พิกัด : 18.879547, 99.124543

    ผมเดินเข้ามาสำรวจภายในหอธรรมกลางน้ำบูรพาจารย์ พบรูปถ่ายของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เมื่อครั้งเสด็จมาเป็นประธานในการทำบุญถวายผ้ากฐินสามัคคี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 อีกทั้งยังทรงเป็นประธานเปิดหอธรรมกลางน้ำบูรพาจารย์แห่งนี้อีกด้วย

    นอกจากนี้ยังมีรูปครูบาและพระสงฆ์ที่สำคัญและหาชมได้ยากยิ่ง เช่น รูปถ่ายของ “พระนพีสีพิศาลคุณ” หรือ คำปิง คนธสาโร คณาจารย์โท พระสงฆ์ธรรมยุติ ผู้เป็นพระราชาคณะรูปแรกของล้านนา สำหรับพระประธานของหอธรรมกลางน้ำบูรพาจารย์ คือ พระอุปคุต ขนาบข้างด้วยรูปเหมือนของพระอริยสงฆ์สองรูป มีป้ายเชิญชวนให้ “ใส่บาตรพระอุปคุต มหาสมบัติทันใจ เงินทองโชคลาภหลั่งไหลทันอกทันใจ” แต่ก็ต้องทำงานนะครับ

    ด้านข้างมีตู้ไม้ประตูกระจกไว้เก็บอัฐิของครูบาและเกจิอาจารย์ชื่อดัง ตรงส่วนนี้ผมว่าน่าสนใจมาก เพราะมีอัฐิของอริยสงฆ์หลายรูปทั่วฟ้าเมืองไทยตั้งแต่ภาคเหนือไปจนถึงภาคอีสานเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น ครูบาเจ้าพรหมมา พรหมจักโก จากวัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน หลวงปู่กูด รักขิตสีโล จากวัดป่าศิลาอาสน์ จังหวัดยโสธร หลวงปู่จาม มหาปุญโญ จากวัดป่าวิเวกวัฒนาราม จังหวัดมุกดาหาร หลวงปู่จันทา ถาวโร จากวัดป่าเขาน้อย จังหวัดพิจิตร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ จากวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่อว้าน เขมโก จากวัดป่านาคนิมิต จังหวัดสกลนคร หลวงปู่แฟ๊บ สุภัทโท จากวัดป่าดงหวาย จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ยังอีกมากครับ นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่าง แค่ตู้นี้ผมใช้เวลาในการชมไปนานทีเดียว ใกล้ๆ กันมีตู้ที่มีลักษณะและรูปทรงเดียวกัน ตู้นี้เก็บรวบรวม “พระอุปคุต” ที่มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กันไป เนื่องด้วยเป็นพระที่เก็บในตู้ แต่ละองค์จึงมีขนาดเล็ก เป็นพระอุปคุตในเวอร์ชั่นจิ๋วแลดูน่ารักไปอีกแบบ

    ออกจากหอธรรมกลางน้ำบูรพาจารย์ เดินสำรวจรอบบ่อน้ำ ด้านซ้ายของบ่อน้ำมีศาลาตั้งอยู่หนึ่งหลัง ด้านหน้ามีรูปปั้น ช้าง ม้า วัว ควาย ครบเลยจริงๆ ไม่ได้พูดเล่น ผมย้อนเดินกลับเข้าไปในวิหารลื้ออีกครั้ง เนื่องจากยังไม่ได้เก็บภาพ “พระหยกขาว” พระพุทธรูปหยกขาวใสองค์เล็กประดิษฐานในตู้กระจกนิรภัย ป้องกันการถูกโจรกรรมจากมารศาสนาเป็นอย่างดี

    กว่าจะเดินเก็บจนทั่วหมดดี ก็ปาเข้าย่ำยามราตรี ผมเดินไปดูเจดีย์อีกที มีการเปิดไฟส่องสว่างทำให้เจดีย์กลายเป็นสีเหลืองทองอร่ามท่ามกลางท้องฟ้าอันมืดมิด มียักษ์เฝ้าตลอดทั้งวันคืน คอยเป็นผู้พิทักษ์ไม่ให้มีใครหรือสิ่งใดมาล่วงล้ำทำในสิ่งที่เป็นภัยต่อพุทธศาสนา

by Traveller Freedom


* DSC_1077.JPG (405.26 KB, 1000x667 - ดู 203 ครั้ง.)

* DSC_1082.JPG (404.98 KB, 1000x647 - ดู 292 ครั้ง.)

* DSC_1085.JPG (312.41 KB, 667x1000 - ดู 309 ครั้ง.)

* DSC_1086.JPG (423.86 KB, 1000x667 - ดู 215 ครั้ง.)

* DSC_1087.JPG (304.68 KB, 667x1000 - ดู 221 ครั้ง.)

* DSC_1092.JPG (293.2 KB, 1000x611 - ดู 315 ครั้ง.)

* DSC_1097.JPG (319.31 KB, 1000x667 - ดู 274 ครั้ง.)

* DSC_1098.JPG (462.18 KB, 1000x667 - ดู 288 ครั้ง.)

* DSC_1172.JPG (350.93 KB, 667x1000 - ดู 292 ครั้ง.)

* DSC_1288.JPG (308.26 KB, 719x1000 - ดู 297 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 06, 2016, 08:26:49 PM โดย Traveller Freedom » บันทึกการเข้า
manman
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 03:48:38 PM »


สวยมากเลยนะครับ  913 913

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2016, 09:19:26 AM โดย TripChiangmai » บันทึกการเข้า
parsuk
Hero Member
*****
กระทู้: 1447


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2018, 09:16:52 AM »


 :onio:
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ขึ้นบน พิมพ์ 
จองที่พักราคาถูกทั่วประเทศโทร 053266550-2  |  เชียงใหม่ - ข้อมูลเกี่ยวกับเชียงใหม่ - ที่พัก โรงแรม การเดินทาง วัดจังหวัดเชียงใหม่ ร้านอาหาร สถานที่เที่ยวกลางวัน กลางคืน ฯลฯ  |  วัดในจังหวัดเชียงใหม่  |  หัวข้อ: อารามประจำชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ @ วัดศรีมุงเมือง « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  




Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.5 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 20 คำสั่ง